MAIN POINT
- ระบบคมนาคมขนส่งมวลชนของไทยกำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อความสะดวกสบายในการเดินทางของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าสายสีเขียว รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน รถไฟฟ้าสายสีม่วง รถไฟฟ้าสายสีแดง และอีกหลายส่วนต่อขยายในอนาคต ที่จะช่วยเชื่อมโยงใจกลางเมืองกรุงเทพฯ กับพื้นที่ใกล้เคียงให้เข้าถึงกันง่ายยิ่งขึ้น
- โครงการบ้านและคอนโดจากเอพีโดดเด่นในเรื่องทำเลศักยภาพ โลเคชันใกล้ BTS, MRT และพื้นที่ที่มีแนวโน้มเติบโตทางเศรษฐกิจอีกมากมาย เหมาะสำหรับคนที่กำลังมองหาที่อยู่อาศัยที่ช่วยยกระดับคุณภาพการใช้ชีวิตในเมืองใหญ่
อัปเดตแผนที่รถไฟฟ้า 2568
- อัปเดตแผนที่รถไฟฟ้าทุกสายในกรุงเทพฯ - ปริมณฑล 2568
- รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน (สถานีคูคต - สถานีเคหะฯ)
- รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ - บางหว้า)
- รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (สถานีบางซื่อ - หัวลำโพง)
- รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (สถานีหัวลำโพง - หลักสอง)
- รถไฟฟ้าสายสีม่วง (สถานีเตาปูน - คลองบางไผ่)
- รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (สถานีลาดพร้าว - สำโรง)
- รถไฟฟ้าสายสีชมพู (สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี - มีนบุรี)
- รถไฟฟ้าสายสีทอง (สถานีกรุงธนบุรี - สถานีคลองสาน)
- รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (สถานีพญาไท - สุวรรณภูมิ)
- รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม - สีแดงอ่อน (สถานีกลางบางซื่อ - รังสิต / ตลิ่งชัน)
- รถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยาย (สถานีศรีรัช - ทะเลสาบเมืองทองธานี)
- รถไฟฟ้าสายสีส้ม (สถานีสถานีบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - แยกร่มเกล้า)
- รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (สถานีเตาปูน - ครุใน)
ระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑลไม่เป็นเพียงตัวช่วยในการเดินทาง แต่ยังช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับวิถีชีวิตคนเมืองยุคใหม่ เส้นทางหลักอย่างรถไฟฟ้าสายสีเขียว รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และรถไฟฟ้าสายสีแดง เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่เชื่อมโยงย่านสำคัญต่าง ๆ เข้าด้วยกัน AP Thai จะพาทุกคนไปอัปเดตเส้นทางรถไฟฟ้า 2568 และค้นหาทำเลที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคุณไปด้วยกัน
อัปเดตแผนที่รถไฟฟ้าทุกสายในกรุงเทพฯ - ปริมณฑล 2568
รถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ณ ปัจจุบัน 2568 มีหลักๆ ทั้งหมด 10 สาย ได้แก่
- รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน (สถานีคูคต - สถานีเคหะฯ)
- รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ - บางหว้า)
- รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (สถานีบางซื่อ - หัวลำโพง)
- รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (สถานีหัวลำโพง - หลักสอง)
- รถไฟฟ้าสายสีม่วง (สถานีเตาปูน - คลองบางไผ่)
- รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (สถานีลาดพร้าว - สำโรง)
- รถไฟฟ้าสายสีชมพู (สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี - มีนบุรี)
- รถไฟฟ้าสายสีทอง (สถานีกรุงธนบุรี - สถานีคลองสาน)
- รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (สถานีพญาไท - สุวรรณภูมิ)
- รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม - สีแดงอ่อน (สถานีกลางบางซื่อ - รังสิต / ตลิ่งชัน)
นอกจากนี้ยังมีเส้นทางที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 3 สาย ได้แก่
- รถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยาย (สถานีศรีรัช - ทะเลสาบเมืองทองธานี)
- รถไฟฟ้าสายสีส้ม (สถานีสถานีบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - แยกร่มเกล้า)
- รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (สถานีเตาปูน - ครุใน)
รวมเส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้วในกรุงเทพฯ - ปริมณฑล
1. รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน (สถานีคูคต - สถานีเคหะฯ)
รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน หรือที่นิยมเรียกกันว่า BTS สายสุขุมวิท เป็นโครงการรถไฟฟ้าคมนาคมที่เปิดให้บริการเป็นสายแรกของประเทศไทยที่ทอดยาวเชื่อมต่อการเดินข้างถึง 3 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ปทุมธานี และสมุทรปราการ รวมระยะทางประมาณ 54.25 กิโลเมตร เปิดให้บริการทั้งหมด 47 สถานี เริ่มต้นจากสถานีคูคตถึงปลายทางสถานีเคหะฯ
จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียว
- เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียวเข้ม สถานีสยาม
- เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้า BTS สายสีเหลือง สถานีสำโรง
- เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้า MRT สายสีชมพู สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ
- เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน สถานีสวนจตุจักร ที่ BTS หมอชิต
- เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน สถานีพหลโยธิน ที่ BTS ห้าแยกลาดพร้าว
รายละเอียดการให้บริการ
- เวลาเปิดทำการ : 05.15 - 00.00 น.
- อัตราค่าโดยสาร : 17-62 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทาง
2. รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ - บางหว้า)
รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า BTS สายสีลม เป็นโครงการรถไฟฟ้ายกระดับสายที่ 2 ที่เปิดตัวอย่างเป็นทางการพร้อมกับสายสุขุมวิทในปี 2542 รวมระยะทางเดินรถทั้งสิ้น 14 กิโลเมตร ให้บริการทั้งหมด 14 สถานี เริ่มต้นจากสถานีสนามกีฬาแห่งชาติถึงสถานีบางหว้า
จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม
- เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียวอ่อน สถานีสยาม
- เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้า BTS สายสีทอง สถานีกรุงธนบุรี
- เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน สถานีศาลาแดง และ สถานีบางหว้า
- เชื่อมต่อกับ รถโดยสารด่วนพิเศษ BRT ที่สถานีตลาดพลู และ สถานีช่องนนทรี
รายละเอียดการให้บริการ
- เวลาเปิดทำการ : 05.30 - 00.00 น.
- อัตราค่าโดยสาร : 17-62 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทาง
สำหรับใครที่ต้องการศึกษาข้อมูลรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งสีเขียวอ่อนและสีเขียวเข้มเพิ่มเติมว่ามีสถานีอะไรบ้าง อัตราค่าโดยสารโดยละเอียดเท่าไหร่ สามารถอ่านต่อที่บทความ เจาะลึก! รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว ตัวช่วยเชื่อมต่อสู่ใจกลางเมือง
3. รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (สถานีบางซื่อ - หัวลำโพง)
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (สายเฉลิมรัชมงคล) เป็นโครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สายหลักที่เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2547 และเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศไทย โดยในช่วงแรกนั้นเริ่มต้นเส้นทางเดินรถที่สถานีหัวลำโพงจนถึงบางซื่อ ระยะทาง 20 กิโลเมตร รวมทั้งหมด 18 สถานี
จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
- MRT สีลม เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียวอ่อน สถานีศาลาแดง
- MRT สุขุมวิท เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียวเข้ม สถานีอโศก
- MRT พหลโยธิน เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียวเข้ม สถานีห้าแยกลาดพร้าว
- MRT สวนจตุจักร เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียวเข้ม สถานีหมอชิต
- MRT เตาปูน เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง สถานีเตาปูน
- MRT ลาดพร้าว เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้า BTS สายสีเหลือง สถานีลาดพร้าว
- MRT ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้า MRT สายสีส้ม สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
- MRT เพชรบุรี เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้า Airport Rail Link สถานีมักกะสัน
รายละเอียดการให้บริการ
- เวลาเปิดทำการ : 06.00 - 00.00 น.
- อัตราค่าโดยสาร : 17-45 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทาง
4. รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (สถานีหัวลำโพง - หลักสอง)
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (สายเฉลิมรัชมงคล) ส่วนต่อขยายฝั่งธนบุรี เป็นโครงสร้างทางวิ่งผสมทั้งใต้ดินและยกระดับ ต่อยอดเส้นทางเดินรถจากสถานีหัวลำโพงถึงสถานีปลายทางหลักสอง และสถานีท่าบางซื่อถึงสถานีจรัญฯ 13 ทั้งสองระยะทางรวม 28 กิโลเมตร ทั้งหมด 20 สถานี
จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
- เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียวอ่อน สถานีบางหว้า
รายละเอียดการให้บริการ
- เวลาเปิดทำการ : 06.00 - 00.00 น.
- อัตราค่าโดยสาร : 17-42 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทาง
5. รถไฟฟ้าสายสีม่วง (สถานีเตาปูน - คลองบางไผ่)
รถไฟฟ้าสายสีม่วง (สายฉลองรัชธรรม) เป็นโครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ที่เป็นเส้นทางยกระดับทั้งหมด มีเส้นทางการเดินรถรวม 23 กิโลเมตร โดยปัจจุบันเปิดให้บริการทั้งหมด 16 สถานี เริ่มต้นตั้งแต่สถานีคลองบางไผ่ สิ้นสุดปลายทางที่สถานีเตาปูน
จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วง
- เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน สถานีเตาปูน
- เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้า S.R.T. สายสีแดงอ่อน สถานีบางซ่อน
รายละเอียดการให้บริการ
- เวลาเปิดทำการ : 06.00 - 00.00 น.
- อัตราค่าโดยสาร : 14-20 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทาง
สำหรับใครที่ต้องการศึกษาข้อมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงเพิ่มเติม เช่น มีสถานีอะไรบ้าง อัตราค่าโดยสารโดยละเอียดเท่าไหร่ หรือ สนใจดูโครงการบ้านและคอนโดจาก AP Thai เพื่อมองหาที่พักอาศัยทำเลศักยภาพ เดินทางสะดวกรวดเร็ว สามารถอ่านต่อที่บทความ เจาะลึก! รถไฟฟ้าสายสีม่วง มีสถานีอะไรบ้าง เชื่อมต่อไปไหนได้บ้าง
6. รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (สถานีลาดพร้าว - สำโรง)
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (สายนัคราพิพัฒน์) เป็นหนึ่งในโครงการขยายเส้นทางคมนาคมของ BTS ที่เพิ่งเปิดให้บริการเมื่อกลางปี 2567 ที่ผ่านมา ตลอดสายคิดเป็นระยะทางประมาณ 30.4 กิโลเมตร โดยปัจจุบันเปิดให้บริการทั้งหมด 23 สถานี เริ่มต้นตั้งแต่สถานีลาดพร้าว สิ้นสุดปลายทางที่สถานีสำโรง
จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเหลือง
- เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน สถานีลาดพร้าว
- เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้า MRT สายสีส้ม สถานีแยกลำสาลี
- เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้า Airport Rail Link สถานีหัวหมาก
- เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียวอ่อน สถานีสำโรง
รายละเอียดการให้บริการ
- เวลาเปิดทำการ : 06.00 - 00.00 น.
- อัตราค่าโดยสาร : 15-45 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทาง
ข้อมูลเบื้องต้นของรถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่เพิ่งเปิดตัวใหม่ในปี 2568 นี้ หากสนใจอ่านรายละเอียดรถไฟฟ้าสายสีเหลืองเพิ่มเติม ทั้งช่วงเวลาเดินรถ ช่องทางการชำระค่าโดยสาร หรือโครงการบ้านจาก AP Thai เพื่อสำรวจบ้านใกล้รถไฟฟ้าฟังก์ชันจัดเต็ม สามารถตามไปดูที่บทความ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว - สำโรง เชื่อมทุกเส้นทาง สู่ใจกลางเมือง
7. รถไฟฟ้าสายสีชมพู (สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี - มีนบุรี)
รถไฟฟ้าสายสีชมพู เป็นระบบขนส่งมวลชน MRT สายรองในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่เป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยวแบบคร่อมราง (Straddle Monorail) สายแรกของประเทศไทย วิ่งเป็นระยะทางประมาณ 34.5 กิโลเมตร โดยปัจจุบันเปิดให้บริการทั้งหมด 30 สถานี เริ่มต้นตั้งแต่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี สิ้นสุดปลายทางที่สถานีมีนบุรี
จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีชมพู
- เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
- เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้า S.R.T. สายสีแดงเข้ม สถานีหลักสี่
- เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้า BTS สีเขียวอ่อน สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ
- เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้า MRT สายสีส้ม สถานีมีนบุรี
รายละเอียดการให้บริการ
- เวลาเปิดทำการ : 06.00 - 00.00 น.
- อัตราค่าโดยสาร : 15-45 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทาง
หากสนใจทำความรู้จักรถไฟฟ้าสายสีชมพูเพิ่มเติม ทั้งรายละเอียดสถานีทั้งหมด สิ่งอำนวยความสะดวกใกล้เคียง และโครงการบ้านจาก AP Thai เพื่อมองหาบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม และบ้านแฝดทำเลดี รวมครบจบมาให้แล้วที่บทความนี้ มารู้จักโครงการ ใกล้รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
8. รถไฟฟ้าสายสีทอง (สถานีกรุงธนบุรี - สถานีคลองสาน)
รถไฟฟ้าสายสีทอง เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชน BTS ขนาดรองที่ริ่เริ่มพัฒนาขึ้นเพื่อขยายเส้นทางการคมนาคมไปยังชุมชนและพื้นที่เศรษฐกิจ เชื่อมต่อกับ ICONSIAM อย่างสะดวกสบาย ทั้งยังเป็นระบบรถไฟฟ้าไร้คนขับสายแรกของไทย รวมระยะทางทั้งหมด 2.8 กิโลเมตร ปัจจุบันเปิดให้บริการทั้งหมด 4 สถานี เริ่มตั้งแต่สถานีกรุงธนบุรีไปสิ้นสุดที่สถานีประชาธิปก
จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีทอง
- เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้า BTS สีเขียวอ่อน สถานีกรุงธนบุรี
รายละเอียดการให้บริการ
- เวลาเปิดทำการ : 06.00 - 00.00 น.
- อัตราค่าโดยสาร : 16 บาทตลอดสาย
9. รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (สถานีพญาไท - สุวรรณภูมิ)
รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (Airport Rail Link) เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนแบบพิเศษที่สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมต่อสนามบินสุวรรณภูมิถึงใจกลางเมืองกรุงเทพฯ อย่างรวดเร็วเพียง 25 นาที คิดเป็นระยะทางประมาณ 28 กิโลเมตร โดยปัจจุบันเปิดให้บริการทั้งหมด 8 สถานี เริ่มต้นตั้งแต่สถานีพญาไท สิ้นสุดปลายทางที่สถานีสุวรรณภูมิ
จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์
- ARL พญาไท เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้า BTS สถานีพญาไท
- ARL มักกะสัน เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน สถานีเพชรบุรี
- ARL รามคำแหง เชื่อมต่อกับ ท่าเรือท่ารามหนึ่ง
- ARL หัวหมาก เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้า MRT สายสีเหลือง สถานีหัวหมาก
- ARL สุวรรณภูมิ เชื่อมต่อกับ สนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ
รายละเอียดการให้บริการ
- เวลาเปิดทำการ : 05.30 - 00.00 น.
- อัตราค่าโดยสาร : 15-45 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทาง
10. รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม - สีแดงอ่อน (สถานีกลางบางซื่อ - รังสิต / ตลิ่งชัน)
รถไฟฟ้าเส้นทางรถไฟสีแดงเข้ม - สีแดงอ่อน (The S.R.T. Red Line) ก่อสร้างและพัฒนาขึ้นเพื่อให้ประชาชนสามารถเดินทางสัญจรระหว่างตัวเมืองกรุงเทพฯ และชานเมืองได้คล่องตัวและรวดเร็วมากขึ้น อาทิ จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนนทบุรี จังหวัดนครปฐม เป็นต้น รวมถึงเพิ่มความสะดวกสบายในการเดินทางไปสนามบินดอนเมืองด้วย โดยในปัจจุบันเปิดให้บริการแล้วดังนี้
รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม
- มีทั้งหมด 10 สถานี คิดเป็นระยะทาง 22.6 กิโลเมตร เริ่มต้นที่สถานีกลางบางซื่อ (กรุงเทพอภิวัฒน์) ไปจนถึงสถานีรังสิต
- คาดว่าภายในปี 2569 ส่วนต่อขยายอีก 4 สถานีจะแล้วเสร็จ โดยตัดผ่านคลองหนึ่งไปจนถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต
รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน
- มีทั้งหมด 3 สถานี เริ่มต้นที่สถานีกลางบางซื่อ (กรุงเทพอภิวัฒน์) ไปจนถึงสถานีตลิ่งชัน
- คาดว่าในอนาคตจะเพิ่มเติมส่วนต่อขยายอีกสามฝั่ง คือฝั่งตะวันตกไปทางศาลายา ฝั่งไปทางศิริราช และฝั่งตะวันออกไปทางบางซื่อ-หัวหมาก
จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง
- สายสีแดงเข้ม : เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน สถานีบางซื่อ
- สายสีแดงเข้ม : เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้า MRT สายสีชมพู สถานีหลักสี่
- สายสีแดงอ่อน : เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้า MRT สายม่วง สถานีบางซ่อน
รายละเอียดการให้บริการ
- เวลาเปิดทำการ : 05.30 - 00.00 น.
- อัตราค่าโดยสาร : 12-42 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทาง
สำหรับใครที่สนใจอ่านรายละเอียดแผนการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มในอนาคต หรือโครงการบ้านจาก AP Thai เพื่อมองหาบ้านน่าอยู่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ รถไฟฟ้าสายสีแดง ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต เดินทางเข้าออกเมืองสะดวก
ระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑลยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยโครงการใหม่ ๆ ที่มุ่งเชื่อมต่อเส้นทางให้ครอบคลุมและเพิ่มความสะดวกสบายในการเดินทางของคนเมืองยิ่งขึ้น มาดูกันว่ามีเส้นทางรถไฟฟ้าสายไหนอีกบ้างที่กำลังเตรียมเปิดให้บริการในอนาคตอันใกล้นี้
รวมเส้นทางรถไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้างในกรุงเทพฯ - ปริมณฑล
1. รถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยาย (สถานีศรีรัช - ทะเลสาบเมืองทองธานี)
โครงการรถไฟฟ้า MRT สายสีชมพู ส่วนต่อขยายเมืองทองธานีคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2568 ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนเดินทางไปยังเมืองทองธานีได้สะดวกรวดเร็วขึ้นโดยไม่ต้องต่อรถเพิ่ม โดยส่วนต่อขยายที่เพิ่มเติมมา ได้แก่ สถานีอิมแพ็คชาเลนเจอร์ และสถานีทะเลสาบเมืองทองธานี
2. รถไฟฟ้าสายสีส้ม (สถานีบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - แยกร่มเกล้า)
โครงการรถไฟฟ้า MRT สายสีส้ม บางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นอีกเส้นทางรถไฟฟ้าที่เชื่อมฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตก มีจำนวนทั้งหมด 28 สถานี แบ่งเป็นสถานีใต้ดิน 21 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี โดยเป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Heavy Rail Transit System) เช่นเดียวกับระบบของ BTS ในปัจจุบัน วิ่งได้ความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 50,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง แบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง ดังนี้
1. รถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก (สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - แยกร่มเกล้า)
MRT สายสีส้มตะวันออก ปัจจุบันก่อสร้างงานโยธาแล้วเสร็จครบ 100% เป็นเฟสแรกที่เปิดให้บริการได้ก่อน ตามแผนสามารถเดินรถได้ภายในปลายปี 2570 หรือต้นปี 2571 มีทั้งหมด 17 สถานี เป็นสถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี ระยะทางรวม 22.57 กิโลเมตร โดยแต่ละสถานีมีดังนี้
- สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
- สถานีการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
- สถานีวัดพระราม 9
- สถานีรามคำแหง 12
- สถานีรามคำแหง
- สถานีการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.)
- สถานีรามคำแหง 34
- สถานีแยกลำสาลี
- สถานีศรีบูรพา
- สถานีคลองบ้านม้า
- สถานีสัมมากร
- สถานีน้อมเกล้า
- สถานีราษฎร์พัฒนา
- สถานีมีนพัฒนา
- สถานีเคหะรามคำแหง
- สถานีมีนบุรี
- สถานีแยกร่มเกล้า
2. รถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตก (สถานีตลิ่งชัน - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย)
MRT สายสีส้มตะวันตก ปัจจุบันได้เริ่มการก่อสร้างงานโยธาแล้ว คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปลายปี 2573 มีทั้งหมด 11 สถานี ระยะทางรวม 13.4 กิโลเมตร โดยแต่ละสถานีมีดังนี้
- สถานีบางขุนนนท์
- สถานีศิริราช
- สถานีสนามหลวง
- สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
- สถานีหลานหลวง
- สถานียมราช
- สถานีราชเทวี
- สถานีประตูน้ำ
- สถานีราชปรารภ
- สถานีดินแดง
- สถานีประชาสงเคราะห์
*สายสีส้มตะวันตกยังมีสถานีตลิ่งชันเป็นสถานีส่วนต่อขยายในอนาคตเชื่อมต่อจากสถานีบางขุนนนท์ ยังไม่มีกำหนดเปิดให้บริการ
จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีส้ม
- เชื่อมต่อรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียวอ่อน สถานีราชเทวี
- เชื่อมต่อรถไฟฟ้า BTS สายสีเหลือง สถานีแยกลำสาลี
- เชื่อมต่อรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และสถานีบางขุนนนท์
- เชื่อมต่อรถไฟฟ้า MRT สายสีชมพู สถานีมีนบุรี
- เชื่อมต่อรถไฟฟ้า Airport Rail Link สถานีราชปารภ
- เชื่อมต่อรถไฟฟ้า S.R.T. สายสีแดงอ่อน สถานีบางขุนนนท์
- เชื่อมต่อรถไฟฟ้า S.R.T. สายสีแดงเข้ม สถานียมราช (สถานีในอนาคต)
3. รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (สถานีเตาปูน - ครุใน)
โครงการรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง นอกจากเส้นหลักเตาปูน-คลองบางไผ่แล้ว ปัจจุบันก็กำลังดำเนินการก่อสร้างส่วนขยายที่เรียกว่า “รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้” เป็นส่วนต่อขยายช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ที่จะช่วยให้การเดินทางระหว่างกรุงเทพฯ - ปทุมธานี - นนบุรีสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2570 โดยมีทั้งหมด 17 สถานี คิดเป็นระยะทางประมาณ 23.6 กิโลเมตร เริ่มต้นจากสถานีเตาปูน-รัฐสภา ไปสิ้นสุดที่สถานีครุใน
รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ มีทั้งหมด 17 สถานี ได้แก่
- สถานีรัฐสภา
- สถานีศรีย่าน
- สถานีสามเสน
- สถานีหอสมุดแห่งชาติ
- สถานีบางขุนพรหม
- สถานีผ่านฟ้า
- สถานีวังบูรพา
- สถานีสะพานพุทธ
- สถานีวงเวียนใหญ่
- สถานีสำเหร่
- สถานีจอมทอง
- สถานีดาวคะนอง
- สถานีบางปะกอก
- สถานีประชาอุทิศ
- สถานีราษฎร์บูรณะ
- สถานีพระประแดง
- สถานีครุใน
จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายม่วงใต้
- เชื่อมต่อรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน สถานีเตาปูน
- เชื่อมต่อรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน สถานีสามยอด
- เชื่อมต่อรถไฟฟ้า MRT สายสีส้ม สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (สถานีในอนาคต)
- เชื่อมต่อรถไฟฟ้า BRT สายสีแดง สถานีวงเวียนใหญ่ (สถานีในอนาคต)
- เชื่อมต่อรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียวเข้ม สถานีวงเวียนใหญ่
ติดตามโครงการบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮมน่าอยู่จากเอพี เดินทางสะดวกใกล้รถไฟฟ้า
- ทาวน์โฮมใกล้รถไฟฟ้าไม่เกิน 3 ล้าน เพื่อการเริ่มต้นของครอบครัว
- บ้านเดี่ยว AP ใกล้รถไฟฟ้า เดินทางสะดวกบนทำเลศักยภาพ
ทั้งหมดนี้คือข้อมูลฉบับอัปเดตของเส้นทางรถไฟฟ้าทั้งที่เปิดบริการแล้ว และกำลังดำเนินการพัฒนาในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อการเดินทางที่รวดเร็วและสะดวกสบายมากขึ้นของคนเมือง หากใครกำลังมองหาที่อยู่อาศัยใกล้เส้นรถไฟฟ้าเหล่านี้ สามารถใช้ โปรแกรมคำนวณการผ่อนบ้านจากเอพี เพื่อเช็กค่างวดบ้านและคอนโดคร่าวๆ ได้ หรือหากมีโครงการในใจแล้วแต่ยังเลือกไม่ถูก ก็ลองใช้โปรแกรมเปรียบเทียบโครงการที่อยู่อาศัยจากเอพี เป็นตัวช่วยให้คุณได้เห็นภาพรวมของโครงการและตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
เอพีไทยแลนด์ ช่วยเติมเต็มความหมายของชีวิต
เลือกเป็นเจ้าของโครงการบ้านจาก เอพีไทยแลนด์ เพื่อสร้างชีวิตดี ๆ บนพื้นที่ความสุขที่เราเลือกเอง ไม่ว่าจะเป็น โครงการบ้านเดี่ยวพื้นที่กว้างขวางเป็นส่วนตัว ทาวน์โฮมดีไซน์สวยหรือบ้านแฝดฟังก์ชันใหญ่ คอนโดมิเนียมทำเลติดรถไฟฟ้าเดินทางง่าย และโฮมออฟฟิศฟังก์ชันเจ๋งที่รองรับทุกธุรกิจ สามารถเลือกได้ตามต้องการ เพราะ “บ้าน” ไม่ใช่แค่ที่อยู่อาศัย
EMPOWER LIVING อยู่ .. เพื่อทุกความหมายของคุณ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.bts.co.th/
https://www.mrta.co.th/