KNOW HOW
  • Design Ideation

    สถาปัตยกรรมเหนือกาลเวลา สู่โลกของ Beaux Arts และ Biophilic Design

    สถาปัตยกรรมสไตล์ Beaux Art ที่ผสมผสานเข้ากับ Biophilic Design แนวคิดการออกแบบบ้านสมัยใหม่ เพื่อตอบโจทย์คุณภาพชีวิตคนเมืองในปัจจุบัน

    AP THAILAND

    AP THAILAND

    สถาปัตยกรรมและการออกแบบเป็นศาสตร์ที่มีวิวัฒนาการตามยุคสมัยอยู่เสมอ ความงดงามของศิลปะแต่ละช่วงเวลาถูกถ่ายทอดออกมาเป็นสิ่งปลูกสร้างที่มีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตของผู้คน หนึ่งในนั้น คือ Beaux Arts ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในยุโรปและอเมริกาช่วงปลายศตวรรษที่ 19

     

    AP Thai ชวนมาสำรวจเรื่องราวของสถาปัตยกรรมเหนือกาลเวลา ที่ผสมผสานความคลาสสิกและศิลปะยุคใหม่อย่างลงตัว ร่วมกับแนวคิดการเชื่อมโยงวิถีชีวิตของคนยุคใหม่เข้ากับธรรมชาติเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ผ่านการออกแบบสไตล์ Beaux Arts และ Biophilic Design ในปัจจุบัน

     

    ประวัติและที่มาของสถาปัตยกรรมสไตล์ Beaux Art

    สถาปัตยกรรมสไตล์ Beaux Art

    สถาปัตยกรรมสไตล์ Beaux Art

     

    Beaux Art หรือ สถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์ เป็นสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากการผสมผสานแนวคิดระหว่างศิลปะกรีก-โรมัน ศิลปะเรเนซองส์อิตาลี และศิลปะบารอกฝรั่งเศส โดยคำว่า ‘Beaux Art’ นั้นมาจากชื่อของ École des Beaux-Arts โรงเรียนสถาปัตยกรรมชื่อดังแห่งกรุงปารีส ต้นกำเนิดศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงมากมาย

     

    สถาปัตยกรรม Beaux Arts เป็นความลงตัวอันงดงามของศิลปะยุคคลาสสิกและศิลปะสมัยใหม่ ความประณีตอลังการนี้เป็นที่นิยมอย่างมากทั้งในยุโรปและอเมริกาช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จนถึงต้นศตวรรษที่ 20 ด้วยดีไซน์ที่มีความเป็นทางการ

     

    สถาปัตยกรรม Beaux Arts จึงถูกนำไปใช้ในการออกแบบอาคารราชการ พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ หอสมุด และมหาวิทยาลัยหลายแห่ง

     

    ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมสไตล์ Beaux Art

    สถาปัตยกรรม Beaux Arts

    สถาปัตยกรรม Beaux Arts

     

    สถาปัตยกรรม Beaux Arts ให้ความสำคัญกับโครงสร้างที่มีความสมมาตร สร้างพื้นที่ที่ให้ความรู้สึกยิ่งใหญ่ตระการตาตั้งแต่หน้าทางเข้าจรดการตกแต่งภายใน

     

    สถาปัตยกรรม Beaux Arts

     

    เน้นความสมมาตร: สถาปัตยกรรม Beaux Arts ยังคงเก็บรายละเอียดของความสมมาตรแบบคลาสสิกดั้งเดิมเอาไว้ อาคารส่วนใหญ่มักยกฐานชั้นแรก และออกแบบภายในเป็นระดับชั้นเพื่อเน้นความยิ่งใหญ่และความสมดุล

     

    สถาปัตยกรรม Beaux Arts

     

    การออกแบบอลังการ: เก็บรายละเอียดต่างๆ อย่างเพดาน บัว หน้าจั่ว และหัวเสาด้วยการผสมผสานศิลปะกรีก-โรมันที่โออ่าประณีตเข้าไป และเปิดรับแสงธรรมชาติด้วยบานหน้าต่างและซุ้มประตูโค้งขนาดใหญ่ เพิ่มความโปร่งภายในอาคาร

     

    สถาปัตยกรรม Beaux Arts

     

    การประดับตกแต่งอันโดดเด่น: ทั้งภายในและภายนอกอาคารของสถาปัตยกรรม Beaux Arts มักมีจิตรกรรมฝาผนังและรูปปั้น ซึ่งไม่เพียงเพิ่มความสวยงาม แต่ยังมีนัยยะสื่อถึงความมั่งคั่งและความอุดมสมบูรณ์

     

    นอกจากนี้ สถาปัตยกรรม Beaux Arts ยังนิยมใช้วัสดุตกแต่งเป็นอิฐ หินปูน หินอ่อน และทองคำ ที่มีโทนสีเรียบง่ายสะอาดตาแต่ให้ความรู้สึกมีระดับ เพื่อเพิ่มความหรูหราอลังการให้กับอาคารและสิ่งปลูกสร้างมากยิ่งขึ้น

     

    ตัวอย่างของสถาปัตยกรรมที่ออกแบบด้วย Beaux Art

    ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จนถึงต้นศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมแบบ Beaux Art ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั้งในยุโรปและอเมริกา โรงอุปรากร Palais Garnier แห่งฝรั่งเศสเป็นตัวอย่างของการถ่ายทอดความวิจิตรของสถาปัตยกรรม Beaux Arts ได้อย่างยอดเยี่ยมทั้งภายในและภายนอกอาคาร จนได้รับการยกย่องให้เป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของยุค

     

    โรงอุปรากร Palais Garnier

    โรงอุปรากร Palais Garnier

     

    ส่วนในสหรัฐอเมริกา สถาปนิกชาวอเมริกันชื่อดังอย่าง Richard Morris Hunt และ Charles McKim ศิษย์เก่าจากโรงเรียนสถาปัตยกรรม École des Beaux-Arts ก็ได้นำเสนอเสน่ห์ของสถาปัตยกรรม Beaux Arts ในงานออกแบบอาคารสำคัญหลายแห่ง เช่น The New York Public Library และ Grand Central Terminal นอกจากนี้ยังมี The Library of Congress, Thomas Jefferson Building หอสมุดรัฐสภาที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรม Beaux Arts อันโดดเด่น สร้างจากวัสดุชั้นดีเยี่ยมที่มีอายุการใช้งานได้ถึงพันปี

     

     The New York Public Library

    The New York Public Library

     

    Grand Central Terminal

    Grand Central Terminal

     

    The Library of Congress, Thomas Jefferson Building

    หอสมุดโทมัสเจฟเฟอร์สัน

     

    สำหรับในประเทศไทย แม้จะไม่ได้ตั้งอยู่ในโซนยุโรป แต่ก็พบกลิ่นอายของสถาปัตยกรรม Beaux Arts ที่ได้เข้ามามีอิทธิพลในไทยได้จาก “ตึกธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย” ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสถาปนิกชาวอิตาลี เป็นอาคารสีเหลืองไข่ที่ทอดยาวขนาบริมแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งภายในและภายนอกออกแบบตามหลักสมมาตร ประดับตกแต่งด้วยเสาไอโอนิกตามศิลปะกรีก-โรมัน อาคารหลังนี้ยังที่ได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรม ASA ในปี พ.ศ. 2525 และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของย่านตลาดน้อยอีกด้วย

     

    ตึกธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย

    ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย

     

     

    อิทธิพลของสถาปัตยกรรม Beaux Art ต่อศิลปะแขนงอื่น ๆ

    สถาปัตยกรรม Beaux Art

     

    เอกลักษณ์ความประณีตของสถาปัตยกรรม Beaux Art ได้ถ่ายทอดสู่ศิลปะแขนงอื่น ๆ ไม่เพียงการออกแบบสิ่งปลูกสร้าง แต่ยังอยู่ในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนเช่นกัน

     

    • ด้านแฟชั่น: Beaux Art ได้ส่งต่อความใส่ใจในรายละเอียดให้กับวงการแฟชั่น เสื้อผ้าที่ได้รับอิทธิพลจาก Beaux Art มักเป็นผ้าไหม ผ้าซาตินที่ให้ความรู้สึกหรูหรา ตัดเย็บตกแต่งลวดลายสวยงาม และประดับด้วยดิ้นทอง ไข่มุก ลูกไม้ เพิ่มความสง่างามให้กับผู้สวมใส่ราวกับหลุดออกมาจากเทพนิยาย
    • ด้านการตกแต่งภายใน: แนวคิดเพิ่มพื้นที่เปิดโล่งของ Beaux Art ส่งผลให้การออกแบบภายในเน้นรับแสงธรรมชาติจากภายนอกมากขึ้น การตกแต่งด้วยวัสดุหรูหราและโทนสีอุ่นยิ่งช่วยเสริมบรรยากาศโออ่าและกลิ่นอายของความคลาสสิกที่อยู่เหนือกาลเวลา

     

    จากสถาปัตยกรรม Beaux Art ยุคคลาสสิก สู่การผสมผสานแนวคิด Biophilic Design ในยุคปัจจุบัน

    Biophilic Design

     

    Biophilic Design คือ แนวคิดการออกแบบที่เชื่อมโยงระหว่างธรรมชาติและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อส่งเสริมสุขภาวะที่ดีและการพักผ่อนที่สมดุล แนวคิดนี้เน้นการนำธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่อยู่อาศัย เช่น การใช้แสงธรรมชาติ การใช้วัสดุจากธรรมชาติ และการประดับตกแต่งด้วยพรรณไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว

     

    สถาปัตยกรรมแบบ Beaux Arts

     

    การหลอมรวมของสถาปัตยกรรมแบบ Beaux Arts เข้ากับ Biophilic Design ยิ่งนำเสนอความงามที่ผสมผสานความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบให้มีแสงธรรมชาติที่เข้าถึงทุกพื้นที่ด้วยการใช้บานหน้าต่างและประตูใหญ่ การจัดสวนแบบเปิดโล่ง หรือการใช้วัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้ หิน และพืชสีเขียว ช่วยสร้างสีสันที่ตัดกันอย่างลงตัว และเพิ่มบรรยากาศสงบสดชื่นแก่ที่พักอาศัย

     

    ความลงตัวของการผสมผสาน Biophilic และ Beaux Arts

    การผสมผสาน Biophilic และ Beaux Arts

    การผสมผสาน Biophilic และ Beaux Arts

     

    การผสมผสานการออกแบบของ Biophilic และ Beaux Arts ในการสร้างบ้านและอาคารนั้น มีประโยชน์ทั้งในด้านความยั่งยืนและสุขภาวะของผู้อยู่อาศัย บ้านที่ตกแต่งด้วยสไตล์ Biophilic ช่วยลดการใช้พลังงาน โดยเฉพาะการระบายอากาศและรับแสงธรรมชาติจากภายนอก ช่วยให้ผู้อยู่อาศัยมีสุขภาพที่ดีขึ้น ลดความเครียด เพิ่มความผ่อนคลาย และได้ใกล้ชิดธรรมชาติท่ามกลางบรรยากาศที่หรูหรามีระดับ

     

    สัมผัสสถาปัตยกรรม Beaux Arts และ Biophilic Design ผ่านโครงการบ้านเดี่ยว The Palazzo จาก AP Thai

    โครงการบ้านเดี่ยว The Palazzo

     

    โครงการบ้านเดี่ยว The Palazzo จากเอพีนำเสนอประสบการณ์ใหม่ของการพักผ่อนเหนือระดับ ด้วยการออกแบบที่อิงแนวคิดสถาปัตยกรรม Beaux Arts ผสมผสานเข้ากับ Biophilic Design รังสรรค์บ้านเดี่ยวระดับ Ultra Luxury ที่ตอบโจทย์คนเมืองที่ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิต

     

    • ความสง่างามของสถาปัตยกรรม Beaux Arts: เผยเสน่ห์ของ Beaux Arts ด้วยการออกแบบที่ประณีตใส่ใจ ตั้งแต่การใช้สัดส่วนทองคำกับ Facade หน้าบ้านตามหลักสมมาตร จรดรายละเอียดภายในที่งดงามชดช้อยแบบศิลปะกรีก-โรมัน ไม่ว่าจะเป็นราวบันได ไฟประดับ หรือกระเบื้องลายธรรมชาติ
    • Majestic Space (Bespoke Design): การจัดสรรพื้นที่ภายในบ้านด้วย Customized Layout ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของบ้านแต่ละหลัง ให้การพักผ่อนของคุณรู้สึกพิเศษด้วยบ้านที่เลือกเองได้ไม่เหมือนใคร
    • Multigenerational Living: พื้นที่ภายในออกแบบให้กว้างขวางหรูหรา รองรับทุกไลฟ์สไตล์การอยู่อาศัยของคนทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อนส่วนตัวหรือการทำกิจกรรมร่วมกันกับครอบครัว
    • Biophilic Design: การผสมผสานพื้นที่สีเขียวเข้ากับสถาปัตยกรรมเหนือกาลเวลา เพิ่มความสดชื่นผ่อนคลายท่ามกลางบรรยากาศบ้านที่หรูหรามีคลาส

     

     

    สัมผัสเสน่ห์ของพื้นที่พักผ่อนอันสง่างามและสะดวกสบายไปกับโครงการบ้านเดี่ยว The Palazzo จากเอพี ที่อยู่อาศัยที่เป็นมากกว่าบ้านดีไซน์ร่วมสมัย แต่เป็นศิลปะและสุนทรียะการใช้ชีวิตของคนเมืองยุคใหม่ เพื่อให้คุณได้ดื่มด่ำกับช่วงเวลาส่วนตัวที่พิเศษกว่าใคร

     

    เตรียมพบโครงการ The Palazzo ปรัชญาใหม่ของพื้นที่ชีวิต 

     

     

    EMPOWER LIVING อยู่ .. เพื่อทุกความหมายของคุณ

    RELATED ARTICLES