KNOW HOW
  • Witty Hacks

หมดกังวลเรื่องเสียงรบกวน ด้วยเคล็ดลับทำห้องเก็บเสียง

บทความที่จะแนะนำวิธีการทำให้ห้องเก็บเสียง ลดเสียงรบกวน ทำให้ห้องเงียบสงบด้วยตัวช่วยง่ายๆ

AP THAILAND

AP THAILAND

เชื่อว่าหนึ่งในปัญหาที่ทำให้คนส่วนใหญ่สะดุ้งตื่นกลางดึกหรือนอนไม่หลับคือ เสียงดังรบกวนจากภายนอก โดยเฉพาะคนที่อยู่ในเขตชุมชนเมือง เนื่องจากมีแหล่งกำเนิดเสียงจากหลายทิศทาง ทั้งเสียงรถยนต์ เสียงสมาชิกในบ้าน หรือเสียงจากบ้านข้างๆ ที่อยู่ในละแวกเดียวกัน เรียกว่าซ้ายขวาหน้าหลังเสียงก็สามารถเล็ดลอดเข้ามาในห้องรบกวนการพักผ่อนได้ตลอดเวลา อย่างไรก็ตามหากอยากแก้ไขก็สามารถทำด้วยการเปลี่ยนห้องธรรมดาให้กลายเป็นห้องเก็บเสียงด้วยวัตถุต่างๆ ซึ่งสำหรับใครที่พอมีกำลังทรัพย์อาจเลือกจ้างช่างผู้เชี่ยวชาญมาติดตั้งอุปกรณ์ดูดซับเสียงเพื่อประหยัดเวลาในการติดตั้งมากขึ้น แต่ถ้าอยากประหยัดค่าใช้จ่ายสามารถเลือกใช้วิธีทําให้ห้องเก็บเสียงง่ายๆ ดังนี้

 

ใช้แผ่นฟองน้ำเก็บเสียง

1. ใช้แผ่นฟองน้ำเก็บเสียง

สำหรับวิธีทำให้ห้องเก็บเสียงที่อยากให้คนไม่ชอบเสียงรบกวนนำมาใช้เป็นวิธีแรกคือ การใช้แผ่นฟองน้ำเก็บเสียงมาติดบริเวณผนังห้อง ซึ่งข้อดีของแผ่นฟองน้ำเก็บเสียงนอกจากจะช่วยลดเสียงจากภายนอกที่เข้ามาภายในห้องได้แล้ว ยังช่วยกั้นไม่ให้เสียงภายนอกออกไปด้านนอกอีกด้วย ทำให้เหมาะกับคนที่ชอบความเป็นส่วนตัว ทั้งนี้เป็นเพราะแผ่นฟองน้ำเก็บเสียงที่จำหน่ายในท้องตลาดส่วนใหญ่ถูกพัฒนาให้มีคุณสมบัติเหนียว ความหนาแน่นสูง รูอากาศน้อย และที่สำคัญอายุการใช้งานยาวนานแข็งแรงไม่ฉีกขาดง่าย อีกทั้งยังติดตั้งง่ายสามารถทำได้ด้วยตัวเองเพียงทากาวยางหรือฉีดกาวสเปรย์บริเวณด้านหลังแผ่นฟองน้ำเก็บเสียงและติดลงในบนผนังเท่านั้น

 

เลือกวัสดุกั้นห้องที่ช่วยเก็บเสียง

2. เลือกวัสดุกั้นห้องที่ช่วยเก็บเสียง

ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีทําให้ห้องเก็บเสียงที่ได้รับความนิยมมากเช่นกัน สำหรับการใช้วัสดุกั้นห้องเพื่อลดเสียงรบกวน มีข้อดีทั้งช่วยลดเสียงจากภายนอก กั้นเสียงภายในห้องไม่ให้หลุดออกไป และลดเสียงสะท้อนภายในห้องด้วย  ตัวอย่างวัสดุกั้นห้องที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีดังนี้

  • วัสดุกันเสียงรบกวนประเภท Shumoplast ผิวเนื้อวัสดุมีความยืดหยุ่น ไม่เป็นพิษ ติดตั้งง่าย และแข็งแรงทนทาน เหมาะสำหรับใช้กั้นเสียงในพื้นที่ขนาดใหญ่ สามารถลดเสียงได้ประมาณ 32 เดซิเบล
  • วัสดุกันเสียงรบกวนประเภทโฟม เนื้อวัสดุทำจากโพลียูรีแทนโฟม ยืดหยุ่นสูง ประสิทธิภาพสูง จึงเหมาะสำหรับใช้กั้นเสียงในห้องที่ต้องการความเงียบ อย่างห้องอัด สตูดิโอ หรือโรงภาพยนตร์ สามารถลดเสียงได้ประมาณ 95 เดซิเบล
  • วัสดุกันเสียงรบกวน ประเภท Teksound เนื้อวัสดุไม่หนาแต่ยืดหยุ่นสูง ติดตั้งง่าย สามารถติดตั้งได้ทุกพื้นผิว สามารถลดเสียงได้ประมาณ 28 เดซิเบล
  • วัสดุกันเสียงรบกวน ประเภทอะคูสติก เนื้อวัสดุทำจากวีเนียร์ โดดเด่นเรื่องความสวยงาม จึงนิยมติดตั้งภายในตัวอาคาร
  • วัสดุกันเสียงรบกวน ประเภทไอโซปลาสต์ เนื้อวัสดุทำจากไม้เนื้ออ่อนพิเศษ จึงช่วยรักษาอุณหภูมิห้องได้ดี เหมาะกับการติดตั้งภายในตัวอาคาร สามารถลดเสียงได้ประมาณ 27 เดซิเบล
  • วัสดุกันเสียงรบกวน ประเภทฉนวนใยหิน เนื้อวัสดุติดตั้งง่าย ทนความร้อนสูง ติดตั้งได้ทั้งพื้นคอนกรีตและพื้นไม้ในพื้นที่ขนาดใหญ่ สามารถลดเสียงได้ประมาณ 99 เดซิเบล

 

ใช้ชั้นวางหนังสือ

3. ใช้ชั้นวางหนังสือ

ถ้าเช่าหอพักหรือคอนโดมิเนียมการติดตั้งแผ่นฟองน้ำเก็บเสียงหรือวัสดุกั้นห้องอาจทำได้ยาก เพราะส่วนใหญ่เจ้าของห้องมักห้ามไม่ให้ผู้เช่าต่อเติมหรือเปลี่ยนแปลงห้องเช่าโดยไม่จำเป็น แต่ถึงอย่างนั้นจะให้ทนกับเสียงดังรบกวนจากภายนอกก็คงไม่ไหว จึงแนะนำให้ใช้วิธีทําให้ห้องเก็บเสียงด้วยการวางชั้นหนังสือให้ชิดผนังด้านที่ติดกับห้องที่มีเสียงดังและใส่หนังสือให้เต็ม เนื่องจากหนังสือจะช่วยดูดซับเสียงที่ดังเข้ามาภายในห้อง ซึ่งถึงแม้ว่าจะไม่ได้ทำให้ห้องเงียบสนิท แต่รับประกันว่าช่วยให้เบาลงอย่างที่ต้องการ ส่วนใครที่ไม่มีชั้นวางหนังสืออาจเลือกใช้เป็นตู้เสื้อผ้าหรือชั้นวางของสูงๆ แทนได้เช่นกัน

 

อุดรอยต่อช่องโหว่ของผนังและพื้น

4. อุดรอยต่อช่องโหว่ของผนังและพื้น

ในกรณีที่ใช้วิธีทําให้ห้องเก็บเสียงด้วยแผนซับเสียง วัสดุกั้นห้อง หรือใช้ชั้นหนังสือช่วยซับเสียงแล้วแต่ยังรู้สึกเหมือนเสียงยังคงเข้ามาในห้องมากเกินไป แนะนำให้ลองตรวจสอบบริเวณช่องโหว่ระหว่างพื้นกับผนัง ร่องยาแนวของกระเบื้อง หรือรอยร้าวบนผนัง เพราะเสียงอาจเล็ดลอดเข้ามาทางช่องทางที่เกิดขึ้นได้ โดยสามารถแก้ปัญหาง่ายๆ ดังนี้

  • ช่องว่างระหว่างประตู แนะนำให้ใช้แผ่นยางกั้นประตู กั้นบริเวณช่องวางเพื่อลดช่องโหว่
  • ช่องโหว่ระหว่างพื้นกับผนัง ขั้นตอนแรกให้เอารอยอุดเก่าด้วยมีดอเนกประสงค์และทำความสะอาดสิ่งสกปรกออกให้หมด จากนั้นขัดด้วยแอลกอฮอล์เพื่อฆ่าเชื้อโรคด้วยฟองน้ำสะอาด รอให้แห้งสนิท อุดรอยรั่วด้วยซิลิโคนเพื่อสร้างซีลกันน้ำ ปิดท้ายด้วยน้ำยาลาเท็กซ์สีเดียวกับผนัง
  • ร่องยาแนวของกระเบื้อง ขั้นตอนแรกให้เซาะปูนยาแนวเก่าออก จากนั้นใช้แปรงปัดฝุ่นออกให้สะอาด นำกาวยาแนวใหม่มาปาดลงในร่องกระเบื้อง พยายามออกแรงกดเพื่อให้กาวยาแนวเข้าไปในร่องกระเบื้อง ทำความสะอาดยาแนวที่ล้นออกมาด้วยฟองน้ำเปียกหมาด ขั้นสุดท้ายใช้ผ้าแห้งเช็ดให้ความสะอาดอีกรอบ
  • รอยร้าวบนผนัง ขั้นตอนแรกให้ใช้ไขควงปากแบนกะเทาะตามรอยร้าว จากนั้นนำแป้งโป๊มาปิดที่รอยกะเทาะที่ทำไว้ เมื่อแห้งแล้วให้ใช้กระดาษทรายขัดผนังเรียบ และทาสีทับให้สวยงาม

 

ผ้าม่านเก็บเสียง

5. ผ้าม่านเก็บเสียง

การใช้ผ้าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะบ้านหรือคอนโดมิเนียมที่ใช้หน้าต่างกระจก เพราะนอกจากผ้าจะช่วยดูดซับเสียงได้ดี ทำให้เสียงจากภายนอกเบาลงแล้ว ยังเป็นวิธีทําให้ห้องเก็บเสียงที่ทั้งง่าย ราคาถูก ไม่ต้องแรงเยอะ และสามารถใช้ของตกแต่งห้องได้อีกด้วย สำหรับผ้าม่านเก็บเสียงที่มีจำหน่ายในท้องตลาดนั้นมีให้เลือกหลากหลายแบบ แต่ควรเลือกผ้าม่านเนื้อหนา อย่างผ้าสักหลาดเนื้อหนาหรือผ้าใยสังเคราะห์ที่มีความหนาแน่นสูงจะช่วยลดระดับเสียงที่เข้ามาภายในห้องได้

 

พรมปูพื้นเก็บเสียง

6. พรมปูพื้นเก็บเสียง

เช่นเดียวกับการติดตั้งผ้าม่านเก็บเสียง การปูพรมที่พื้นก็มีส่วนช่วยลดเสียงจากภายนอกและเสียงสะท้อนภายในห้องได้ดีไม่น้อยไปกว่ากัน สำหรับลักษณะของพรมปูพื้นเก็บเสียงที่ได้รับความนิยมได้แก่ พรมอัดชนิดลูกฟูก เนื่องจากพรมชนิดนี้มีราคาไม่สูงเกินไป ใช้งานได้พื้นที่ได้หลากหลายขนาด ติดตั้งง่ายเพียงแค่ทากาวยางหรือใช้เทปกาวก็สามารถปูพื้นได้เลย ทำให้สามารถติดตั้งได้ด้วยตัวเอง นอกจากนั้นยังสามารถทำความสะอาดด้วยเครื่องดูดฝุ่น อายุการใช้งานนาน 3 ปี และหากเสียหายสามารถรื้อเปลี่ยนผืนใหม่ได้เลย

 

ฝ้าเพดานก็สำคัญ

7. ฝ้าเพดานก็สำคัญ

เสียงลากของ เสียงเดิน หรือเสียงของตก เป็นหนึ่งในปัญหาเรื่องเสียงที่ทำให้คนมีบ้านหลายชั้นหรืออาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมส่วนใหญ่ต้องเผชิญถ้าไม่ให้ความสำคัญกับการก่อสร้าง เนื่องจากฝ้าเพดานมีส่วนช่วยลดและซับเสียงจากภายนอกเช่นเดียวกัน ดังนั้นเวลาก่อสร้างจึงควรเลือกติดตั้งฝ้าเพดานแบบ 2 ชั้น และติดตั้งฉนวนกันร้อนหรือฉนวนกันเสียงร่วมด้วยก็จะตัดปัญหาเรื่องเสียงลงได้ระดับหนึ่ง

 

ติดวอลเปเปอร์หนาๆ

8. ติดวอลเปเปอร์หนาๆ ก็ช่วยได้

แน่นอนว่าการลดเสียงจากภายนอกเนื่องจากปัญหาผนังบางนั้นแก้ได้ค่อนข้างยาก เพราะจะให้ทุบกำแพงผนังก่อสร้างใหม่หรือสร้างผนังห้องอีกชั้นก็อาจดูเป็นการสิ้นเปลืองมากเกินไป แต่ถึงอย่างนั้นมีวิธีติดวอลเปเปอร์ได้ด้วยการติดวอลเปเปอร์แผ่นหนาที่ผนัง อย่างวอลเปเปอร์แบบ 3D ที่มีผิวนูน หรือวอลเปเปอร์หนาชนิด PE Foam โดยแนะนำเลือกที่มีผิวขรุขระเพื่อเพิ่มคุณสมบัติในการซับเสียงมากขึ้น

 

เปลี่ยนรูปแบบของหน้าต่าง

9. เปลี่ยนรูปแบบของหน้าต่าง

หลายคนอาจคิดว่าแค่ใช้หน้าต่างบานกระจกหนา เลือกหน้าต่างที่มีรอยต่อมีช่องให้อากาศผ่านได้น้อย และปิดหน้าต่างก็ช่วยลดเสียงจากภายนอกได้แล้ว แต่ความจริงแล้วยังขึ้นอยู่กับประเภทของหน้าต่างที่เลือกใช้งานด้วย สำหรับรูปแบบหน้าต่างกันเสียงที่ได้รับความนิยม ได้แก่

หน้าต่างแบบบานเปิด เป็นแบบที่ได้รับความนิยมและใช้กันอย่างแพร่หลาย เปิดได้กว้าง ถ่ายเทอากาศได้เต็มที่ และกันน้ำได้ดี

  • หน้าต่างแบบบานกระทุ้ง นิยมใช้ทำหน้าต่างบานเล็ก อย่างหน้าต่างในห้องน้ำ เพราะเป็นแบบที่มีน้ำหนักเบา ป้องกันน้ำกระเด็นเวลาฝนตกได้ดี
  • หน้าต่างแบบบาน Fixed เรียกอีกอย่างว่าบานช่องแสง ไม่สามารถเปิดหรือปิดได้ ติดตั้งเพื่อให้แสงเข้ามาภายในห้องเท่านั้น ทำให้ป้องกันอากาศ เสียง และการรั่วซึมได้ดี
  • หน้าต่างแบบบานเลื่อน เป็นหน้าต่างแบบเปิดปิดด้วยการเลื่อน ทำให้ประหยัดเนื้อที่ในการติดตั้ง และเหมาะกับการติดตั้งกระจก 2 ขั้นที่ให้ทั้งความสวยงามและเพิ่มประสิทธิภาพในการลดเสียงจากภายนอกได้มากขึ้น

 

ว่าแต่ทำไมเสียงถึงเล็ดลอดเข้ามายังห้องได้

จะเห็นได้ว่าเหตุผลที่ทำให้เสียงลอดเข้ามาภายในห้องเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่ไม่มีคุณสมบัติการ การสึกหลอของผนังหรือผนังบางจนเกินไป ฝ้าเพดานขาดคุณสมบัติในการซับเสียง หรือการเลือกใช้หน้าต่างที่ป้องกันเสียงจากภายนอกไม่ได้ แต่ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากสาเหตุใดควรรีบนำแก้ไขด้วยวิธีทํา ให้ห้องเก็บเสียงให้เรียบร้อย เพราะหากปล่อยไว้นอกจากจะรบกวนการพักผ่อนตัวเองและทำให้รู้สึกไม่เป็นส่วนตัวแล้ว ในทางกลับกันเสียงจากภายในห้องเองก็อาจลอดออกไปรบกวนสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนบ้านเช่นเดียวกัน

 

โดยสรุปแล้ววิธีทําให้ห้องเก็บเสียงแบ่งออกเป็น 3 แบบคือ การแก้ปัญหาด้วยวัสดุป้องกันเสียง อย่างแผ่นฟองน้ำเก็บเสียงและวัสดุกั้นห้อง การแก้ปัญหาด้วยของตกแต่ง อย่างชั้นวางหนังสือ ผ้าม่านเก็บเสียง พรมปูพื้นเก็บเสียง ติดวอลเปเปอร์หนา และการแก้ปัญหาที่โครงสร้างของที่อยุ่ อย่างการอุดรอยต่อช่องโหว่ การปรับฝ้าเพดาน เปลี่ยนรูปแบบของหน้าต่าง เพราะฉะนั้นก่อนเลือกวิธีทําให้ห้องเก็บเสียงควรตรวจสอบสาเหตุที่ทำให้เสียงเข้ามาในห้อง เพียงเท่าจะช่วยแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดแล้ว

RELATED ARTICLES