MAIN POINT
- การขอมิเตอร์ไฟฟ้า ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ สามารถติดต่อได้ที่การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ส่วนพื้นที่ต่างจังหวัดอื่น ๆ ทั่วประเทศไทย สามารถติดต่อได้ที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
- ผู้ที่ต้องการขอมิเตอร์ไฟฟ้า ต้องมีคุณสมบัติเป็นเจ้าของที่ดิน, ผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน, ผู้ที่มีสิทธิ์ครอบครองสถานที่ตามกฎหมาย หรือเป็นผู้ประกอบการในสถานที่ที่ขอใช้ไฟฟ้าเท่านั้น
ขอมิเตอร์ไฟฟ้า ต้องทำอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง?
ไฟฟ้า ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในชีวิตประจำวันของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน คอนโด อาคารพาณิชย์ การขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าจึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้องรู้ วันนี้ AP Thai จะพาไปเจาะลึกทุกขั้นตอนการขอมิเตอร์ไฟฟ้า ตั้งแต่การตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้น การเตรียมเอกสาร ค่าธรรมเนียม ไปจนถึงขั้นตอนการยื่นคำร้อง เพื่อให้สามารถวางแผนและดำเนินการได้อย่างราบรื่น
คุณสมบัติของผู้ที่จะขอมิเตอร์ไฟฟ้า
- เป็นเจ้าของที่ดิน หรือเจ้าของสถานที่ที่ต้องการขอใช้ไฟฟ้า
- เป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่ต้องการขอใช้ไฟฟ้า
- เป็นผู้ที่มีสิทธิ์ครอบครองสถานที่ตามกฎหมาย เช่น ผู้เช่า หรือผู้เช่าซื้อในสถานที่ขอใช้ไฟฟ้า
- เป็นผู้ประกอบการ ในสถานที่ที่ขอใช้ไฟฟ้า
ยื่นขอมิเตอร์ไฟฟ้าได้ที่ไหนบ้าง?
สำหรับสถานที่ยื่นขอมิเตอร์ไฟฟ้า หน่วยงานการไฟฟ้าจะแบ่งหน้าที่ตามพื้นที่จังหวัด โดยแบ่งเป็น 2 หน่วยงานหลัก ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จึงควรตรวจสอบเขตพื้นที่รับผิดชอบก่อนการยื่นเรื่อง เพื่อความถูกต้องและรวดเร็วในการดำเนินการ
1. การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)
การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) รับผิดชอบการให้บริการการขอมิเตอร์ไฟฟ้า ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ โดยสามารถโทร. 1130 หรือติดต่อสอบถามได้จากเว็บไซต์ https://www.mea.or.th/our-services/mea-service/e-service/new-meter-person
2. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) รับผิดชอบการให้บริการขอมิเตอร์ไฟฟ้า ในเขตพื้นที่ต่างจังหวัดทั่วประเทศ ยกเว้นพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้านครหลวง โดยสามารถโทร. 1129 หรือติดต่อสอบถามได้จากเว็บไซต์ https://eservice.pea.co.th/cos/individual/
เอกสารที่ต้องใช้ในการขอมิเตอร์ไฟฟ้า
1. การขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าถาวร
กรณีบุคคลธรรมดา
-
สำหรับผู้ขอใช้ไฟฟ้าที่มีชื่อในทะเบียนบ้านที่ขอใช้ไฟฟ้า
- สำเนาบัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทาง พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ
- หนังสือรับรองการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน
-
สำหรับผู้ขอใช้ไฟฟ้าที่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านที่ขอใช้ไฟฟ้า
- สำเนาบัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทาง พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ
- เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ของสถานที่ขอใช้ไฟฟ้า พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ เช่น สัญญาซื้อขาย, สัญญาเช่าและหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่า, หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่, สำเนาโฉนด
- หนังสือรับรองการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน
ในกรณีที่ไม่สะดวกยื่นเรื่องขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทนได้ โดยต้องมีหนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือสำเนาบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ หรือสำเนาหนังสือเดินทาง ของทั้งผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ
กรณีนิติบุคคล
-
สำหรับนิติบุคคลที่จดทะเบียนในสถานที่ขอใช้ไฟฟ้า
- รูปถ่าย/สำเนาบัตรประชาชน ของกรรมการผู้มีอำนาจลงนามตามที่หนังสือรับรองระบุ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ
- หนังสือรับรองการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน
-
สำหรับนิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในสถานที่ขอใช้ไฟฟ้า
- รูปถ่าย/สำเนาบัตรประชาชน ของกรรมการผู้มีอำนาจลงนามตามที่หนังสือรับรองระบุ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ
- เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ของสถานที่ขอใช้ไฟฟ้า พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ เช่น สัญญาซื้อขาย, สัญญาเช่าและหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่า, หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่, สำเนาโฉนด
- หนังสือรับรองการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน
ในกรณีที่ไม่สะดวกยื่นเรื่องขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทนได้ โดยต้องมีหนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือสำเนาบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ หรือสำเนาหนังสือเดินทาง ของทั้งผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ
กรณีผู้ประกอบการบ้านจัดสรร/คอนโด (นิติบุคคล)
-
กรณีนิติบุคคลที่จดทะเบียนในสถานที่ขอใช้ไฟฟ้า
- รูปถ่าย/สำเนาบัตรประชาชน ของกรรมการผู้มีอำนาจลงนามตามที่หนังสือรับรองระบุ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ
- หนังสือรับรองการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน
-
กรณีนิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในสถานที่ขอใช้ไฟฟ้า
- รูปถ่าย/สำเนาบัตรประชาชน ของกรรมการผู้มีอำนาจลงนามตามที่หนังสือรับรองระบุ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ
- เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ของสถานที่ขอใช้ไฟฟ้า พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ เช่น สัญญาซื้อขาย, สัญญาเช่าและหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่า, หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่, สำเนาโฉนด
- หนังสือรับรองการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน
ในกรณีที่ไม่สะดวกยื่นเรื่องขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทนได้ โดยต้องมีหนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือสำเนาบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ หรือสำเนาหนังสือเดินทาง ของทั้งผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ
2.การขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าชั่วคราว
กรณีบุคคลธรรมดา
- สำเนาบัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทาง พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ
- เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ของสถานที่ขอใช้ไฟฟ้า พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ เช่น สัญญาซื้อขาย, สัญญาเช่าและหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่า, หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่, สำเนาโฉนด, สัญญาว่าจ้าง, ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร
- หนังสือรับประกันหนี้ค้าง เกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้าชั่วคราว
กรณีนิติบุคคล
รูปถ่าย/สำเนาบัตรประชาชน ของกรรมการผู้มีอำนาจลงนามตามที่หนังสือรับรองระบุ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ
- เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ของสถานที่ขอใช้ไฟฟ้า พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ เช่น สัญญาซื้อขาย, สัญญาเช่าและหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่า, หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่, สำเนาโฉนด, สัญญาว่าจ้าง, ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร
- หนังสือรับประกันหนี้ค้าง เกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้าชั่วคราว
ในกรณีที่ไม่สะดวกยื่นเรื่องขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทนได้ โดยต้องมีหนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือสำเนาบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ หรือสำเนาหนังสือเดินทาง ของทั้งผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ
ค่าธรรมเนียมการขอมิเตอร์ไฟฟ้า
1. การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)
เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า | ค่าตรวจสอบการติดตั้งสายไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน (บาท) | |
แอมแปร์ | จำนวนเฟส | |
5 (15) | 1 | 700 |
15 (45) | 1 | 700 |
30 (100) | 1 | 700 |
15 (45) | 3 | 700 |
30 (100) | 3 | 1,500 |
50 (150) | 3 | 1,500 |
200 | 3 | 2,500 |
400 | 3 | 2,500 |
2. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
ขนาดมิเตอร์(แอมป์) | เฟส | ค่าตรวจสอบการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน | เงินประกันการใช้ไฟฟ้า | รวม |
5 (15) | 1 | 700 | 300 | 400 |
15 (45) | 1 | 700 | 2,000 | 2,700 |
30 (100) | 1 | 700 | 4,000 | 4,700 |
15 (45) | 3 | 700 | 6,000 | 6,700 |
30 (100) | 3 | 1,500 | 12,000 | 13,500 |
มิเตอร์แรงต่ำประกอบซีที | 1 | 1,600 | แอมป์ละ 100 บาท | |
3 | 4,200 | แอมป์ละ 300 บาท | ||
มิเตอร์แรงสูง | ต่ำกว่า 69 เควี | ไม่เกิน 30 แอมป์ 15,000 บาท | เควีเอละ 400 บาท | |
เกิน 30 แอมป์ 20,000 บาท | ||||
ตั้งแต่ 69 เควี ขึ้นไป | เควีเอ ละ 4 บาท แต่ไม่เกิน 50,000 บาท |
*ทั้งนี้โปรดตรวจสอบข้อมูลค่าใช้จ่ายจากการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอีกครั้ง
ขั้นตอนการขอมิเตอร์ไฟฟ้าทั้งที่สำนักงาน และช่องทางออนไลน์
1. การขอมิเตอร์ไฟฟ้าที่สำนักงาน
การขอมิเตอร์ไฟฟ้าสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานการไฟฟ้าตามสถานที่ที่ขอใช้ไฟฟ้าตั้งอยู่ โดยทำได้ง่าย ๆ ใน 3 ขั้นตอน
- เตรียมเอกสารให้ครบถ้วน พิจาณาสถานะของตนเอง เช่น เป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือผู้ประกอบการ เพื่อวางแผนเตรียมเอกสารให้ถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไข
- ยื่นเอกสาร นำเอกสารที่เตรียมไว้ ไปยื่นขอมิเตอร์ไฟฟ้าได้ที่สำนักงานการไฟฟ้าตามเขตพื้นที่ โดยกรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ ติดต่อที่การไฟฟ้านครหลวง และจังหวัดอื่น ๆ ติดต่อที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในท้องที่
- เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้อง พร้อมนัดวัน-เวลาไปตรวจสอบระบบไฟบ้าน แจ้งชำระค่าธรรมเนียม และเข้าติดตั้งมิเตอร์
2. การขอมิเตอร์ไฟฟ้าออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชัน MEA Smart Life และ PEA Smart Plus
การขอมิเตอร์ไฟฟ้าออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์
- เข้าเว็บไซต์หน่วยงานการไฟฟ้า
- การไฟฟ้านครหลวง: https://www.mea.or.th/
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค: https://eservice.pea.co.th/
- เลือกเมนู “ขอใช้ไฟฟ้า/น้ำประปา”
- เลือกประเภทการขอใช้มิเตอร์ไฟฟ้า บุคคลทั่วไป/นิติบุคคล
- อ่านและยอมรับเงื่อนไขการขอใช้ไฟฟ้า
- กรอกข้อมูลประวัติผู้ใช้งาน สถานที่ที่ขอใช้ไฟฟ้า และเลือกขนาดมิเตอร์ที่เหมาะสม
- ตรวจสอบความถูกต้อง ยืนยัน และรอรับหมายเลขคำร้องการขอใช้ไฟฟ้าผ่านทาง E-mail
การขอมิเตอร์ไฟฟ้าออนไลน์ผ่านทางแอปพลิเคชัน MEA Smart Life และ PEA Smart Plus
- ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันหน่วยงานการไฟฟ้า จาก App Store สำหรับ iOS หรือ Google Play Store สำหรับ Android
ลิงก์ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันการไฟฟ้านครหลวง
- IOS: https://apps.apple.com/th/app/mea-smart-life/id651825361
- Android: https://play.google.com/store/apps/details?id=esrith.meawms&pcampaignid=web_share
ลิงก์ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
- IOS: https://apps.apple.com/th/app/pea-smart-plus/id1063710354?l=th
- Android: https://play.google.com/store/apps/details?id=com.esrith.pea_mobile&pcampaignid=web_share
- ลงทะเบียนผู้ใช้งาน กรอกข้อมูลส่วนตัว
- เลือกบริการขอใช้ไฟฟ้า
- กรอกรายละเอียดการขอใช้ไฟฟ้า และสถานที่ขอใช้ไฟฟ้าให้เรียบร้อย
- ตรวจสอบข้อมูล ยืนยันตัวตนด้วยระบบ OTP
รวมคำถามที่น่ารู้ เกี่ยวกับการขอมิเตอร์ไฟฟ้า
Q: เลือกประเภทมิเตอร์ไฟฟ้าอย่างไรให้เหมาะกับบ้าน
A: การเลือกประเภทมิเตอร์ไฟฟ้าที่เหมาะสมกับบ้านขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและความต้องการในการใช้ไฟฟ้า
- มิเตอร์ 1 เฟส: เหมาะสำหรับบ้านเรือนที่มีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป เช่น หลอดไฟ พัดลม เครื่องปรับอากาศ โทรทัศน์ เครื่องซักผ้า
- มิเตอร์ 3 เฟส: เหมาะสำหรับบ้านขนาดใหญ่ สำนักงาน โรงงาน ที่มีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้ากำลังไฟสูง เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า ตู้เย็น เครื่องชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า
Q: เลือกขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าอย่างไรให้เหมาะกับบ้าน
A: การเลือกขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า ควรพิจารณาจากการใช้งานและจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยขนาดมิเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานภายในบ้านเรือน
- บ้านขนาดเล็ก หอพัก เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่มาก: มิเตอร์ 5(15) 1 เฟส ไม่เกิน 10 แอมป์
- บ้านขนาดกลาง คอนโด: มิเตอร์ 15(45) 1 เฟส 11-30 แอมป์
- บ้านขนาดใหญ่ เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิด: มิเตอร์ 30(100) 1 เฟส 31-75 แอมป์
- บ้านขนาดใหญ่ หรือสำนักงาน: มิเตอร์ 50(150) 1 เฟส 76-100 แอมป์
Q: บ้าน 1 หลัง ขอมิเตอร์ไฟฟ้าได้กี่ตัว?
A: โดยปกติแล้วบ้าน 1 หลัง จะขอมิเตอร์ได้เพียง 1 ตัวเท่านั้น ยกเว้นบางสถานการณ์ที่สามารถพิจารณาขอติดตั้งมิเตอร์เพิ่มเติมได้เป็นกรณีไป เช่น สำหรับการชาร์จรถ EV, การสูบน้ำเพื่อการเกษตร, การขอมิเตอร์ชั่วคราวในงานก่อสร้างอาคาร, การจัดสรรห้องเพื่อการเช่า
Q: ไม่มีเลขที่บ้าน ขอมิเตอร์ไฟฟ้าได้ไหม?
A: ในกรณีที่ไม่มีเลขที่บ้าน สามารถขอมิเตอร์ไฟฟ้าได้เช่นเดียวกัน โดยเตรียมเอกสารสำเนาทะเบียนบ้านที่จะติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า, สำเนาทะเบียนบ้านที่อยู่ปัจจุบัน, สำเนาบัตรประชาชน, สัญญาซื้อขาย/สัญญาเช่า นำไปยื่นคำร้องที่หน่วยงานการไฟฟ้า รอเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ และชำระค่าธรรมเนียม
Q: ขอมิเตอร์ไฟฟ้าใช้เวลากี่วัน?
A: การขอมิเตอร์ไฟฟ้าใช้ระยะเวลาประมาณ 5 วันทำการ สำหรับในเขตชุมชน และประมาณ 8 วันทำการ สำหรับนอกเขตชุมชน โดยเริ่มนับตั้งแต่รับชำระเงิน
รู้ลึกก่อนมีบ้านของตัวเอง ด้วยบทความน่ารู้จากเอพี
- ขอบ้านเลขที่ ต้องทำอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง?
- ย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง มีขั้นตอนยังไง ใช้เอกสารอะไรบ้าง
- โฉนดที่ดินมีกี่ประเภท? แบบไหนซื้อขายได้ รู้ไว้ไม่โดนหลอก
ขอมิเตอร์ไฟฟ้า ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด
การขอมิเตอร์ไฟฟ้า ควรตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้น เตรียมเอกสารสำคัญให้พร้อม ปฏิบัติตามขั้นตอนการยื่นเรื่องและระยะเวลาทำการ เพื่อสามารถวางแผนและดำเนินการได้อย่างราบรื่น ให้ทุกความต้องการขั้นพื้นฐานในชีวิตเป็นเรื่องง่ายไม่ยุ่งยาก
เอพีไทยแลนด์ ช่วยเติมเต็มความหมายของชีวิต
เลือกเป็นเจ้าของโครงการบ้านจาก เอพีไทยแลนด์ เพื่อสร้างชีวิตดี ๆ บนพื้นที่ความสุขที่เราเลือกเอง ไม่ว่าจะเป็น โครงการบ้านเดี่ยวพื้นที่กว้างขวางเป็นส่วนตัว ทาวน์โฮมดีไซน์สวยหรือบ้านแฝดฟังก์ชันใหญ่ คอนโดมิเนียมทำเลติดรถไฟฟ้าเดินทางง่าย และโฮมออฟฟิศฟังก์ชันเจ๋งที่รองรับทุกธุรกิจ สามารถเลือกได้ตามต้องการ เพราะ “บ้าน” ไม่ใช่แค่ที่อยู่อาศัย
EMPOWER LIVING อยู่ .. เพื่อทุกความหมายของคุณ