Main Point
- รายรับ รายจ่าย และประวัติการชำระหนี้ ต่างก็เป็นปัจจัยที่ธนาคารนำใช้พิจารณาการให้กู้เงินซื้อบ้าน เพื่อสร้างความมั่นใจว่าผู้กู้จะผ่อนชำระได้ตามกำหนด
- การคำนวณผ่อนบ้านและคำนวณผ่อนคอนโด มีทั้งสูตรคำนวณเงินผ่อนแต่ละเดือน หรือจะคิดวงเงินกู้ซื้อบ้านก็ได้เช่นกัน โดยขึ้นอยู่กับประวัติการใช้เงินของแต่ละคน
เชื่อว่าใคร ๆ ก็ฝันว่าอยากมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง เพราะการมีบ้านหรือคอนโดนั้น เป็นเหมือนความสำเร็จอีกขั้นของชีวิต แต่การเป็นเจ้าของทรัพย์สินชิ้นใหญ่แบบนี้ต้องวางแผนให้รอบคอบ
โดยเฉพาะเรื่องการเงิน ควรคำนวณผ่อนบ้านและคำนวณผ่อนคอนโดไว้ให้ดี เพื่อให้บริหารค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เอพีได้รวบรวมข้อมูลที่มือใหม่ต้องรู้ ทั้งปัจจัยเรื่องการกู้เงิน การคำนวณเงิน และสิ่งที่ควรรู้ก่อนกู้เงินอีกด้วย
ปัจจัยที่ธนาคารใช้ประเมินในการให้วงเงินกู้ซื้อบ้าน
ก่อนที่จะไปดูวิธีคำนวณผ่อนบ้าน ควรลองดูปัจจัยที่ธนาคารนำมาใช้ในการให้วงเงินกู้ซื้อบ้านกันก่อน โดยธนาคารจะดูจากรายรับ รายจ่าย รวมถึงหนี้สินที่เรามีอยู่ด้วย เพื่อประเมินว่าสถานะทางการเงินของเรา เหมาะสมที่จะได้รับอนุมัติหรือไม่ การคำนวณผ่อนบ้านและคอนโดจะดูจากปัจจัยดังต่อไปนี้
-
รายรับ
ปกติธนาคารจะกำหนดอัตราผ่อนรายเดือนไว้ที่ประมาณ 40% ของรายรับหรือเงินเดือนแต่ละเดือน หากมีรายได้ 30,000 บาท จะสามารถผ่อนได้สูงสุดประมาณ 12,000 บาทต่อเดือน ซึ่งแน่นอนว่ารายรับของแต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนมีเงินเดือนคงที่ แต่บางคนอาจไม่คงที่ โดยเงินเดือนและโบนัสจะถูกนำมาคิดเป็นรายรับสำหรับคำนวณผ่อนบ้านทั้งหมด
-
รายจ่ายและหนี้สินทั้งหมด
ไม่ว่าจะเป็นรายจ่ายหรือหนี้สินต่าง ๆ จะถูกยกมาประเมินทั้งหมด ธนาคารจะใช้วิธีพิจารณาด้วยการคำนวณเงินเดือนผ่อนบ้าน โดยแบ่งอัตราส่วนเงินออกเป็นเปอร์เซ็นต์ ธนาคารจะกำหนดเงินที่สามารถผ่อนได้สูงสุดอยู่ที่ประมาณ 40% และในอีก 60% จะเป็นรายจ่ายส่วนอื่น
ตัวอย่างเช่น หาก A เป็นเด็กจบใหม่ มีเงินเดือน 20,000 บาท และมีหนี้สินอยู่ 5,000 บาท จะเท่ากับ 20,000 - 5,000 = 15,000 บาท นำ 15,000 มาลบกับ 60% ที่เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว จะเหลือวงเงินที่สามารถผ่อนได้สูงสุด 40% จึงสรุปได้ว่า A สามารถผ่อนได้สูงสุด คือ 6,000 บาท
-
ประวัติการชำระหนี้
ประวัติการชำระหนี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญมากในการคำนวณผ่อนคอนโด หรือคำนวณผ่อนบ้าน เนื่องจากเมื่อธนาคารปล่อยวงเงินกู้ออกไป ก็ต้องหวังว่าผู้กู้จะชำระเงินได้ตามที่ตกลงไว้ ดังนั้นหากใครที่มีประวัติชำระหนี้ล่าช้า ไม่ตรงตามรอบ แต่ปัจจุบันมีรายรับที่มั่นคง ธนาคารอาจอนุมัติเงินกู้ให้ แต่วงเงินที่ได้ก็อาจต่ำกว่าระดับปกติ
เปิดสูตรคำนวณผ่อนบ้าน คำนวณผ่อนคอนโด เงินเดือนเท่านี้ กู้ได้เท่าไร
จากที่ทุกคนทราบแล้วว่าธนาคารจะพิจารณาการอนุมัติ โดยอิงจากรายรับ รายจ่ายและหนี้สิน รวมทั้งประวัติการชำระหนี้ นอกจากนี้ธนาคารยังกำหนดสัดส่วนรายจ่ายชำระหนี้ต่อรายได้เฉลี่ยต่อเดือน หรือเรียกว่า Debt Service Ratio หรือ DSR โดยกำหนดไว้ไม่เกิน 3.0 อธิบายง่าย ๆ ก็คือรายรับต่อเดือนควรมากกว่าอัตราผ่อนชำระ 3 เท่าขึ้นไป โดยอัตรานี้จะนำมาใช้คำนวณเงินผ่อนชำระแต่ละเดือนด้วยนั่นเอง
Do you know?
DSR หรือ Debt Service Ratio คือ อัตราความสามารถในการชำระหนี้ เป็นอัตราที่กำหนดขึ้นเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับธนาคารว่า ผู้กู้จะผ่อนชำระเงินไหว โดยธนาคารจะหลีกเลี่ยงการปล่อยกู้ให้กับผู้ที่มีระดับ DSR สูงกว่ากำหนดที่ 3.0 ซึ่งหมายถึงผู้กู้จะต้องมีสัดส่วนรายได้เป็น 3 เท่า ของเงินที่ต้องผ่อนชำระ โดยการคิดอัตรา DSR ทำได้ดังนี้
รายได้ต่อเดือน (บาท) ÷ ภาระหนี้ที่ต้องผ่อนชำระ (บาท) = อัตรา DSR
ตัวอย่าง ถ้าเรามีรายได้ 30,000 บาท และภาระหนี้ 10,000 บาท ต่อเดือน ก็จะคิดเป็น 30,000 ÷ 10,000 = 3 เป็นสัดส่วนการผ่อนนั่นเอง
ปัจจัยที่ธนาคารใช้ประเมินในการให้วงเงินกู้ซื้อบ้าน
ก่อนที่จะไปดูวิธีคำนวณเงินเดือนผ่อนบ้าน อยากให้ลองดูปัจจัยที่ธนาคารนำมาใช้ในการให้วงเงินกู้ซื้อบ้านกันก่อนว่า มีการประเมินด้านไหนบ้าง แน่นอนว่ารายรับเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่ธนาคารนำมาใช้ในการประเมิน แต่รายจ่าย และหนี้สินก็เป็นอีกปัจจัยหลัก ที่มองข้ามไม่ได้เลย ซึ่งธนาคารจะเป็นผู้ประเมินว่ารายได้ของคุณ เหมาะสมที่จะได้รับอนุมัติหรือไม่ โดยจะคำนวณเงินเดือนผ่อนบ้านของคุณจากปัจจัยเหล่านี้
● รายรับ
รายรับ หรือเงินได้ที่เข้ามาสู่กระเป๋าของคุณในแต่ละเดือน โดยปกติแล้วธนาคารจะกำหนดอัตราผ่อนรายเดือนไว้อยู่ที่ประมาณ 40% ของรายรับในแต่ละเดือน หากคุณมีรายได้อยู่ที่ 30,000 บาท จะสามารถผ่อนสูงสุดได้ประมาณ 12,000 บาทต่อเดือน ซึ่งแน่นอนว่ารายได้ของแต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนมีเพียงเงินเดือนเท่านั้น บางคนมีทั้งรายได้คงที่ รายได้ไม่คงที่ เงินโบนัส ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะถูกนำมาคิดเป็นรายรับทั้งหมด
● รายจ่าย และหนี้สินทั้งหมด
รายจ่าย และหนี้สินต่างๆ ทั้งหมด จะถูกยกมาประเมิน ธนาคารจะใช้วิธีพิจารณาโดยการคำนวณเงินเดือนผ่อนบ้านด้วยการแบ่งอัตราส่วนเงินออกเป็นเปอร์เซ็นต์ ซึ่งโดยปกติแล้วธนาคารจะกำหนดเงินที่สามารถผ่อนได้สูงสุดอยู่ที่ประมาณ 40% และในอีก 60% จะเป็นรายจ่ายส่วนต่างๆ ดังนั้น ดังนั้น หาก A เป็นเด็กจบใหม่ มีเงินเดือน 20,000 บาท และมีหนี้สินอยู่ 5,000 บาท จะเท่ากับ 20,000 - 5,000 = 15,000 บาท นำ 15,000 มาลบกับ 60% ที่เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว จะเหลือวงเวินที่สามารถผ่อนได้สูงสุด 40% จึงสรุปได้ว่า A สามารถผ่อนได้สูงสุด คือ 6,000 บาท
● ประวัติการชำระหนี้
ประวัติการชำระหนี้นั้นสำคัญมาก เนื่องจากธนาคารปล่อยวงเงินกู้ออกไป ก็ต้องหวังว่าผู้กู้จะชำระเงินได้ตามที่ตกลงไว้ ดังนั้นหากคุณมีประวัติชำระหนี้ล่าช้า ไม่ตามรอบ แต่ปัจจุบันมีรายรับที่มั่นคง ธนาคารอาจอนุมัติเงินกู้ให้ แต่วงเงินที่ได้อาจต่ำกว่าระดับปกติ
1. สูตรคำนวณเงินผ่อนชำระแต่ละเดือน
อยากรู้ว่าแต่ละเดือนจะต้องผ่อนชำระเท่าไรให้ใช้สูตร “วงเงินผ่อนแต่ละเดือน = เงินเดือน x DSR (40%)” ดังนั้นหากมีเงินเดือนอยู่ที่ 12,000 บาท อัตราเงินผ่อนต่องวดที่สามารถผ่อนได้สูงสุดคือ 4,800 บาท
2. สูตรคำนวณวงเงินกู้ซื้อบ้าน
ให้ใช้สูตร “(รายได้ของผู้กู้ x หนี้บ้าน 40%) x 150 = วงเงินที่สามารถกู้ได้” ดังนั้น เมื่อนำฐานเงินเดือนมาคำนวณคร่าวๆ ผู้ที่ไม่มีหนี้สินอื่นๆ จะมีวงเงินที่สามารถกู้ซื้อบ้านได้โดยประมาณดังนี้
เงินเดือน (บาท) |
ผ่อนชำระ/เดือน (บาท) |
วงเงินกู้ (บาท) |
---|---|---|
12,000 |
4,800 |
720,000 |
15,000 |
6,000 |
900,000 |
20,000 |
8,000 |
1,200,000 |
25,000 |
10,000 |
1,500,000 |
30,000 |
12,000 |
1,800,000 |
50,000 |
20,000 |
3,000,000 |
100,000 |
40,000 |
6,000,000 |
ถ้ามีหนี้สินต้องผ่อนอยู่ จะคำนวณผ่อนบ้านได้อย่างไรบ้าง?
สำหรับผู้ที่มีหนี้สินติดตัว ไม่ว่าจะเป็นหนี้บัตรเครดิต ผ่อนรถ หรือแม้แต่ผ่อนบ้านอีกหลังหนึ่งอยู่ วงเงินสูงสุดที่สามารถกู้ได้จะลดลง เนื่องจากธนาคารหลาย ๆ แห่งยังคงประเมินอัตรา DSR อยู่ที่ 40-50% ดังนั้นหากมียอดหนี้อยู่ค่อนข้างมาก ก็จะทำให้ภาระหนี้สินของคุณเพิ่มมากขึ้น
ตัวอย่างเช่น ถ้ามีเงินเดือนอยู่ 20,000 บาท จะต้องจ่ายค่าผ่อนบ้านต่องวดประมาณ 8,000 บาท แต่มีหนี้บัตรเครดิตอยู่อีกเดือนละประมาณ 3,000 บาท ก็จะต้องนำ “(จำนวนเงินผ่อนบ้าน – หนี้สินที่มี) x 150”
เท่ากับว่านำ (8,000-3,000) x 150 = 750,000 บาท ดังนั้นหากมีเงินเดือน 20,000 บาท แบบไม่มีหนี้สิน จะสามารถกู้ได้ประมาณ 1,200,000 บาท แต่หากมีหนี้สิน เช่น ค่าบัตรเครดิตเดือนละประมาณ 3,000 บาท จะสามารถกู้เงินได้ประมาณ 750,000 บาท
โดยอัตราคำนวณผ่อนบ้านดังกล่าว จะเป็นเพียงการประมาณราคาคร่าว ๆ เท่านั้น เนื่องจากการกู้บ้าน ธนาคารจะเป็นผู้พิจารณาวงเงิน ความเสี่ยง และระยะเวลาการผ่อน หากคุณมีรายได้ค่อนข้างสูง ประวัติชำระหนี้ที่ดี ธนาคารก็อาจอนุมัติวงเงินวงที่สูงขึ้น รวมถึงยังดูจากระยะเวลาในการผ่อน และนโยบายการให้สินเชื่อตามแต่ละธนาคารอีกด้วย
สิ่งที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจกู้ซื้อบ้านหลังแรก
ก่อนตัดสินใจกู้ซื้อบ้านหลังแรก นอกจากการคำนวณผ่อนบ้าน เพื่อให้บริหารจัดการค่าใช้จ่ายได้ง่ายขึ้น ยังมีอีกหลายเรื่องที่ควรจะรู้ก่อนซื้อบ้านหลังแรก จะมีอะไรบ้าง เอพีสรุปมาให้ดูกันแล้ว
1. วงเงินและระยะเวลาในการกู้ซื้อบ้าน
ถึงจะคำนวณผ่อนบ้านมาอย่างดีแล้ว แต่ผลการพิจารณาอาจไม่เป็นดังที่คาดหวัง เพราะในหลายครั้งวงเงินและระยะเวลา อาจจะไม่ได้ผ่านอนุมัติเต็มจำนวน 100% จึงควรมีเงินเก็บเผื่อไว้บ้างก่อนกู้ซื้อบ้าน เช่น ยื่นขออนุมัติเงินกู้ไป 1,200,000 บาท ธนาคารอาจอนุมัติมา 1,000,000 บาท เท่ากับว่าจะขาดเงินไปประมาณ 200,000 บาท หรือยื่นขออนุมัติไป 20 ปี แต่อาจได้เพียง 15 ปีเท่านั้น จึงควรเตรียมเงินสำรองไว้ใช้ประมาณหนึ่ง
2. ดอกเบี้ยเงินกู้และจำนวนเงินผ่อนต่องวด
ดอกเบี้ยเงินกู้และจำนวนเงินผ่อนต่องวด การกู้บ้านมีดอกเบี้ยหลัก ๆ 2 แบบ คือ Minimum Loan Rate หรือ MLR และ Minimum Retail Rate หรือ MRR โดยแต่ละแบบแตกต่างกันออกไป ดังนี้
- MLR หรือ Minimum Loan Rate ใช้สำหรับลูกค้าที่มีประวัติการเงินดี ใช้กับการกู้เงินที่มีการกู้เงินระยะยาวที่มีการกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน
- MRR หรือ Minimum Retail Rate ใช้สำหรับลูกค้าทั่วไป โดยใช้กับการกู้เงินที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาการชำระคืนที่ตายตัว หรือภาษาที่เข้าใจง่าย คือใช้กับการกู้เงินที่ไม่มีระบุระยะเวลา จะจบเมื่อคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยจนครบ
การยื่นกู้แต่ละครั้งนอกจากการคำนวณผ่อนบ้าน ธนาคารก็ยังให้คำแนะนำเรื่องดอกเบี้ย และระยะเวลาการผ่อนว่าควรผ่อนอยู่ที่ประมาณกี่ปี โดยคำนวณจากเงินเดือน หักค่าผ่อนบ้าน และหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวต่าง ๆ ก็จะสรุปได้ว่าควรผ่อนบ้านในระยะเวลากี่ปี ดังนั้นก่อนตัดสินใจกู้ ควรวางแผนให้รอบคอบ
3. ราคาบ้านและทำเลที่ตั้ง
เชื่อว่าทุกคนคงเคยเห็นโพสต์ตามโซเชียลมีเดียว่า ทำเลที่ตั้งสุดแพงในกรุงเทพอยู่ย่านไหนบ้าง มีการจัดอันดับราคาพื้นที่จากแพงสุด จนไปถึงกราฟที่แสดงข้อมูลราคาทำเลที่ตั้งในแต่ละปี หากต้องการบ้านที่ทำเลดี ก็ต้องมาพร้อมกับราคาที่สูง จึงต้องกู้เงินมากขึ้น จึงควรคำนวณให้ดีว่ารายรับของเราเพียงพอต่อการผ่อนชำระหรือไม่
4. ขนาดพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน
นอกจากทำเลที่ตั้งบ้านแล้ว พื้นที่ใช้สอยภายในบ้านก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะส่งผลต่อราคาที่อยู่อาศัยด้วย จึงควรวางแผนให้ดีก่อนซื้อว่าในอนาคตต้องการขยับขยายครอบครัว เพิ่มจำนวนสมาชิก หรือจะมีคุณพ่อคุณแม่ผู้สูงอายุย้ายมาอาศัยอยู่ด้วยกันหรือ แล้วลองคำนวณค่าใช้จ่ายในการผ่อนบ้านอีกครั้งหนึ่ง เพื่อประกอบการตัดสินใจ
5. เตรียมตัวให้พร้อมก่อนกู้ซื้อบ้าน
เมื่อคำนวณผ่อนบ้านเรียบร้อย และทราบวงเงินโดยประมาณที่สามารถยื่นกู้ซื้อบ้านได้แล้ว ให้เตรียมตัวยื่นขออนุมัติเงินกู้ โดยให้พยายามเก็บเงินออม เคลียร์หนี้เก่าให้หมดเท่าที่สามารถทำได้ และจัดการรายละเอียดการเดินบัญชีของตนเอง
- มีเงินออมเก็บไว้ส่วนหนึ่ง ควรมีเงินออมเบื้องต้นก่อนจะกู้บ้าน สำหรับค่าใช้จ่ายตั้งแต่การทำสัญญา การจ่ายเงินจองบ้าน เงินดาวน์ ควรมีเงินขั้นต่ำอย่างน้อย 20% ของราคาบ้านที่ต้องการยื่นกู้
- รักษาประวัติการเงินให้ดี ควรรีบเคลียร์หนี้เก่าให้หมด พยายามลดค่าใช้จ่าย หรือค่าใช้จ่ายที่เดินผ่านบัญชี เพราะหากมีหนี้เดิมค่อนข้างสูง เป็นหนี้บัตรเครดิต มีประวัติชำระล่าช้า หรือติดเครดิตบูโรบ้าง ก็อาจเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ธนาคารไม่อนุมัติวงเงินกู้ซื้อบ้าน เนื่องจากประวัติเดิมไม่ค่อยดี
- จัดการรายการเดินบัญชีให้เรียบร้อย เนื่องจากธนาคารจะตรวจประวัติตั้งแต่ประวัติหนี้สิน รายการเดินบัญชีย้อนหลังของคุณว่ามีการใช้จ่ายอะไรไปบ้าง ใช้จ่ายมากน้อยแค่ไหน หรือรายรับน้อยกว่ารายจ่ายปัจจุบันหรือไม่ บางคนไม่มีหนี้สินติดตัว แต่ค่าใช้จ่ายส่วนตัวสูงมาก ก็อาจทำให้ธนาคารพิจารณาลดวงเงินกู้ก็เป็นได้
ขั้นตอนการเตรียมตัวยื่นกู้มีอะไรต้องทำบ้าง?
สำหรับคนที่ตัดสินใจแน่นอนแล้วว่าจะซื้อบ้าน หลังคำนวณผ่อนบ้านกันเรียบร้อยแล้วว่าจะผ่อนไหว ขั้นตอนต่อไปคือการเตรียมตัวยื่นกู้ มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
1. จัดเตรียมเอกสาร การกู้บ้านมีเอกสารที่จำเป็นต้องใช้หลายอย่าง ควรเตรียมให้ครบและทำสำเนาให้เรียบร้อย เมื่อถึงเวลายื่นกู้ก็จะส่งเอกสารได้เลยทันที ไม่ต้องเสียเวลามานั่งหากันใหม่ โดยเอกสารที่ควรเตรียมไว้ ได้แก่
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนารับรองสถานภาพสมรส
- หนังสือรับรองเงินเดือน
- สมุดบัญชีเงินฝาก รวมทั้งเอกสารแสดงรายได้ของตนเอง
- สำเนาการเปลี่ยนชื่อ หรือนามสกุล (ถ้ามี)
- ข้อมูลโครงการที่ต้องการซื้อ
2. ผู้กู้ร่วม (ถ้ามี) เนื่องจากบางคนอยากผ่อนบ้านไปเลยครั้งเดียวจบ แต่บ้านอาจมีราคาที่สูงเกินไป ลองคำนวณผ่อนบ้านคร่าว ๆ แล้วเห็นว่าอาจกู้ไม่ผ่าน หรือได้วงเงินน้อยมาก หากต้องการเพิ่มโอกาสในการอนุมัติวงเงินกู้ที่สูงขึ้น อาจใช้วิธีการกู้ร่วม ซึ่งเงื่อนไขของผู้กู้ร่วมนั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้กู้อย่างมาก เช่น พี่น้อง บิดามารดา หรือสามีภรรยา เป็นต้น
3. ส่งเอกสารขอยื่นกู้เงินและรอผล เมื่อยื่นเอกสารเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว จะต้องรอฟังผลการประเมิน ซึ่งโดยปกติเจ้าหน้าที่ทำการประเมินและแจ้งผลการพิจารณาภายใน 7 วัน
4. จัดทำสัญญากู้เงินและจดจำนอง เมื่อผลการยื่นขอกู้ผ่านเรียบร้อยแล้ว ธนาคารจะนัดวันเวลาให้มาทำสัญญา พร้อมชี้แจงรายละเอียดต่าง ๆ โดยการจดจำนองจะคิดเป็น 1% ของวงเงินกู้
คำนวณผ่อนบ้านเรียบร้อย พร้อมจะหาบ้านที่ใช่ อย่าลืมให้เอพีเป็นทางเลือก
เพราะการกู้เงินซื้อบ้านเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องตัดสินใจให้รอบคอบ ถึงแม้ว่าจะคำนวณผ่อนบ้านหรือคำนวณผ่อนคอนโดมาอย่างดีแล้ว ก็อย่าลืมว่าแต่ละสเต็ปของชีวิต อาจมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่ต้องใช้เงินเป็นจำนวนมากได้ อย่าลืมบริหารจัดการการเงินให้ดี เพื่อให้เพียงพอต่อการผ่อนชำระ เพื่อให้ทุกคนได้อยู่อาศัยในบ้านแสนรักได้อย่างมีความสุขที่สุด
ใครอยากมีบ้านหลักแรก เอพีพร้อมเติมเต็มเป้าหมาย ชีวิตดี ๆ ในพื้นที่ความสุขที่เราเลือกเองได้ ไม่ว่าจะเป็นโครงการบ้านเดี่ยวพื้นที่กว้างขวางเป็นส่วนตัว ทาวน์โฮมหรือบ้านแฝดดีไซน์สวย โฮมออฟฟิศฟังก์ชันเจ๋ง รองรับทุกธุรกิจ และคอนโดมิเนียมทำเลติดรถไฟฟ้าเดินทางง่าย ก็เลือกให้ตอบโจทย์ได้เลย เพราะ “บ้าน” ไม่ใช่แค่ที่อยู่อาศัย
EMPOWER LIVING อยู่ .. เพื่อทุกความหมายของคุณ