การมีบ้านที่สวยงามสักหลังนั้น หลายคนอาจวางแผนและเตรียมตัวเป็นระยะเวลานาน ไม่ว่าจะเป็น การมองหาทำเลบ้านที่ดี เช่น ใกล้รถไฟฟ้า ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล สถานที่ทำงาน หรือสถานศึกษา รวมถึง สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในบ้าน ชื่อเสียงของโครงการบ้าน สภาพแวดล้อมของบ้าน หรือแม้กระทั่งดูฮวงจุ้ยบ้านเพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลกับชีวิต
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นการเลือกซื้อบ้านหลังแรกด้วยแล้วละก็ ขั้นตอนการตรวจรับบ้านนับเป็นขั้นตอนที่ขาดไม่ได้ และต้องให้ความสำคัญมากๆ เลยทีเดียว ไม่ว่าเป็นการเช็กสภาพภายในและภายนอกบ้าน หรือระบบไฟฟ้าและน้ำ เพื่อดูความเรียบร้อยก่อนจะมีการรับโอนกันเกิดขึ้น ซึ่งจะต้องตรวจสอบอะไรบ้างนั้น มาดูกันเลย
ทำไมขั้นตอนการตรวจรับบ้านจึงสำคัญต่อผู้ซื้อบ้าน
การตรวจรับบ้านก่อนโอนเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่สำคัญมากที่สุด ผู้ซื้อบ้านจะต้องตรวจสอบทุกจุดภายในตัวบ้านเพื่อเช็กความเรียบร้อยและความสมบูรณ์ของตัวบ้าน หากมีส่วนไหนที่เสียหายหรือชำรุดจะได้ทราบ และสามารถแจ้งกับทางเจ้าของบ้านหรือเจ้าหน้าที่โครงการบ้านได้ในทันที มิฉะนั้นหากเซ็นรับบ้านไปแล้วมาเจอจุดที่เสียหายในภายหลัง อาจจะต้องเสียเวลานานกว่าจะแก้ไขปัญหานั้นได้
อุปกรณ์ที่ควรเตรียมสำหรับการตรวจบ้าน
สำหรับวิธีตรวจรับบ้านก่อนโอนนั้น จะต้องมีการวางแผนและศึกษามาเป็นอย่างดีว่าจะต้องตรวจสอบส่วนไหนของตัวบ้านบ้าง รวมถึงการใช้อุปกรณ์ตรวจสอบบ้านที่หาได้ง่าย สามารถทำได้ด้วยตนเอง ดังนี้
- อุปกรณ์เครื่องเขียน เช่น ดินสอ ปาก สำหรับจดบันทึกรายละเอียดต่างๆ
- สมุดโน๊ต สำหรับใช้ทำ Checklist ตรวจรับบ้านด้วยการบันทึกและวางแผนงานต่างๆ
- สายวัด สำหรับตรวจวัดความยาวของพื้นและส่วนอื่นในบ้านว่าตรงกับข้อมูลของบ้านหรือไม่
- ไขควงด้ามไม้ สำหรับเช็กความแข็งแรงของกระเบื้องและปูน
- บันไดปีน สำหรับตรวจสภาพของฝ้าและเพดาน
- ไฟฉาย สำหรับส่องดูพื้นที่ต่างๆ ภายในบ้าน
- ดินน้ำมัน สำหรับอุดรูหรือท่อระบายน้ำ เพื่อเช็กการรั่วซึม
- โทรศัพท์มือถือ หรือกล้องถ่ายรูป สำหรับบันทึกภาพ
- ปลั๊กพ่วง สำหรับต่อใช้งานอุปกรณ์ Gadget ต่างๆ เพื่อใช้ในการตรวจรับบ้านก่อนโอน
Checklist จุดสำคัญที่ไม่ควรพลาดเพื่อการตรวจรับบ้านอย่างละเอียด
เมื่อเตรียมความพร้อมในเรื่องอุปกรณ์สำหรับตรวจรับบ้านก่อนโอนแล้ว ในขั้นตอนถัดไปให้ทำการดู Checklist ตรวจรับบ้านว่าจะต้องเริ่มเช็กจากตรงส่วนไหนของบ้านก่อนบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบพื้นที่บ้านกับแบบแปลนบ้างว่าตรงกันหรือไม่ หรือการตรวจสอบพื้นที่หน้าบ้าน โครงสร้างบ้าน และพื้นที่ส่วนต่างๆ ภายในตัวบ้านและนอกบ้าน เพื่อจะได้รู้ว่ามีส่วนไหนที่สมบูรณ์ดีและมีส่วนไหนที่จะต้องซ่อมแซมโดยด่วน
1. เปรียบเทียบตัวบ้านกับแบบแปลนบ้าน
แบบแปลนบ้านเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นและสำคัญต่อขั้นตอนการตรวจรับบ้านอย่างมาก เพราะแบบแปลนบ้านจะทำให้ทราบรายละเอียดและองค์ประกอบต่างๆ ในตัวบ้านว่ามีอะไรบ้าง เช่น พื้นที่ใช้สอย แบบไฟฟ้า-สุขาภิบาล เป็นต้น ด้วยเหตุนั้น ในการตรวจรับบ้านก่อนโอน การเปรียบเทียบตัวบ้านกับแบบแปลนบ้านจึงช่วยให้ผู้ซื้อบ้านมั่นใจได้ว่าตัวบ้านจะมีลักษณะตรงกับแบบแปลนบ้านในทุกๆ จุด
2. พื้นที่หน้าบ้าน
นอกจากการตรวจสภาพภายในบ้านแล้ว การตรวจพื้นที่หน้าบ้านเป็นสิ่งที่ต้องทำด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นถนน รั้วบ้าน สวนหน้าบ้าน ท่อระบายน้ำ หรือระเบียงบ้านที่คุณจะต้องนำอุปกรณ์สำหรับตรวจรับบ้านก่อนโอนมาเช็กให้ละเอียดถี่ถ้วน
-
ถนนหรือพื้นหน้าบ้าน
ถนนหรือพื้นหน้าบ้านจะต้องเรียบ ไม่มีร่องรอยเสียหายหรือเป็นหลุมบ่อ ดูแล้วรู้สึกสะอาดตาและปลอดโปร่ง
-
รั้วบ้าน
รั้วบ้านที่ดี จะต้องแข็งแรง ไม่เอียงหรือมีรอยร้าว และผิวของรั้วจะต้องมีความเรียบเนียน ไม่มีคราบสกปรกหรือร่องรอยความเสียหาย
-
ท่อระบายน้ำ
สำหรับการตรวจรับบ้านก่อนโอนนั้น ท่อระบายน้ำเป็นที่ๆ ไม่ควรปล่อยปละละเลยอย่างยิ่ง ซึ่งก่อนอื่นให้เริ่มตรวจสอบดูว่าทางระบายน้ำจะไม่ไหลกลับเข้าสู่ตัวบ้าน การมีบ่อพักน้ำ รวมถึงท่อระบายน้ำจะต้องมีฝาเปิด-ปิด เพื่อป้องกันอันตรายสำหรับผู้อยู่อาศัย
-
ระเบียงบ้าน
ระเบียงบ้านจะต้องมีความแข็งแรง วัสดุที่ใช้ปูพื้นจะต้องไม่ลื่น เนื่องจากเป็นบริเวณที่ฝนตกลงมา นอกจากนั้น จะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางวางระเกะระกะเพราะอาจล้มได้
-
สวนหน้าบ้าน
สวนหน้าบ้านเป็นอีกหนึ่ง Checklist ตรวจรับบ้านที่จะต้องมีการถมดินให้เต็มพื้นที่ และมีการปลูกหญ้าและต้นไม้เรียงอย่างสวยงาม ไม่มีเศษวัสดุหรือสิ่งสกปรกเหลืออยู่
3. โครงสร้างบ้าน
ภายหลังจากที่เช็กบริเวณหน้าบ้านเรียบร้อยแล้ว ให้ตรวจสอบขั้นตอนรับบ้านก่อนโอน ในส่วนถัดไป เริ่มจากโครงสร้างบ้านที่จะต้องมีความแข็งแรง ส่วนของเหล็กและเสาจะต้องไม่มีรอยหักหรือบิ่น มีการตกแต่งที่ดูเรียบร้อยและสวยงาม
4. ผนังบ้าน
ผนังบ้านที่ดีจะต้องแข็งแรง ไม่มีรอยร้าว และสามารถเก็บเสียงต่างๆ ภายในตัวบ้านได้ดี รวมถึงสามารถป้องกันเสียงรบกวนเข้าสู้ตัวบ้านด้วยเช่นกัน
5. พื้นบ้าน
พื้นบ้านเป็นส่วนที่ต้องเช็กให้ดีก่อนตรวจรับบ้านก่อนโอน โดยให้ดูจากวัสดุที่ปูพื้นต้องเรียบเนียน ไม่มีร่องและโพรงอยู่ นอกจากนั้น จะต้องไม่มีคราบชื้นหรือคราบสกปรกอีกด้วย
6. ฝ้าเพดาน
ฝ้าเพดานที่ดีจะต้องกันน้ำได้และระดับของฝ้าจะต้องมีความสูงเสมอกัน โดยตัวฝ้าจะต้องฉาบให้เรียบเนียนสนิท ไม่มีร่องหรือจุดที่น้ำรั่วซึมได้
7. หลังคาและใต้หลังคาบ้าน
สำหรับหลังคาและใต้หลังคาบ้านนั้น จะต้องมีโครงเหล็กที่แข็งแรงทนทาน เพื่อช่วยรับน้ำหนักของตัวบ้าน รวมถึงสามารถกันน้ำได้ทั้งในส่วนของกระเบื้องและฝ้าใต้หลังคา
8. ประตูหรือช่องเปิดต่างๆ
ประตูเปรียบเหมือนปากของบ้าน ซึ่งในขั้นตอนตรวจรับบ้านก่อนโอนนั้น จะต้องทำการตรวจสอบตั้งแต่ประตูหน้าบ้านเข้ามาถึงประตูบานอื่นๆ ในเรื่องความแข็งแรง สามารถทนแดดทนฝนได้ดี เวลาเปิด-ปิดประตูจะต้องสนิท ไม่มีลมหรือแสงลอดเข้ามา
9. ระบบไฟฟ้า
นอกจากพื้นที่ต่างๆ ภายในบ้านแล้ว การเช็กระบบไฟฟ้าทุกจุดในบ้านยังเป็นสิ่งที่ควรทำสำหรับขั้นตอนการตรวจรับบ้านอีกด้วย โดยเริ่มดูจากปลั๊กหรือสวิทช์ว่าใช้งานได้หรือไม่ รวมถึงตรวจความเรียบร้อยของการเดินสายไฟและความพร้อมในการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้า
10. ระบบน้ำ
เมื่อตรวจสอบระบบไฟฟ้าแล้ว ให้ทำการเช็กระบบสุขาภิบาลด้วยเช่นกัน โดยเริ่มตรวจสอบจากสุขภัณฑ์ต่างๆ ทั้งในเรื่องความสะอาด สามารถระบายน้ำได้ดี รวมถึงไม่มีรอยรั่วซึมหรือสิ่งปฏิกูลอยู่ตามจุดต่างๆ ในห้องน้ำ
11. เฟอร์นิเจอร์ที่มาพร้อมบ้าน
หากเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่มาพร้อมกับตัวบ้านทั้งแบบบิวท์อินและลอยตัว ให้ทำการตรวจสอบว่ามีสภาพเสียหายหรือส่วนไหนชำรุดหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นส่วนของเตียง ตู้ โต๊ะหรือเก้าอี้ และอื่นๆ เป็นต้น
12. บันไดขึ้นลงบ้าน
บันไดขึ้นลงบ้านจะต้องตั้งฉากและมีขนาดขั้นบันไดเท่าๆ กัน เมื่อเดินขึ้นและลงจะต้องไม่มีเสียง ถ้ามีการติดตั้งราวบันไดไว้ ให้ลองจับเพื่อเช็กความแข็งแรงด้วย
เรื่องอื่นๆ ที่ควรทราบนอกจากการตรวจตัวบ้านก่อนโอน
นอกจากการตรวจรับบ้านก่อนโอนทั้งภายในบ้านและนอกบ้านแล้ว การสังเกตถึงสภาพแวดล้อมของบ้าน รวมถึงการสอบถามข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับบ้านที่เลือกซื้อจากผู้ขายให้ละเอียดถี่ถ้วนยังเป็นสิ่งสำคัญอีกด้วย เพราะจะทำให้คุณทราบถึงข้อมูลต่างๆ ที่ควรรู้ก่อนที่จะอยู่อาศัยจริง ซึ่งมี 2 ข้อที่อยากแนะนำให้ทำก่อนการรับโอนบ้าน ได้แก่
-
สังเกตสภาพแวดล้อมรอบตัวบ้าน
หากต้องการเลือกซื้อบ้านสักหลัง นอกจากการตรวจสอบคุณภาพของตัวบ้านแล้ว การสังเกตสภาพแวดล้อมรอบตัวบ้านก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพื้นที่ต่างๆ ใกล้ตัวบ้าน ความปลอดภัยในการเดินทาง หรือว่าพื้นที่บริเวณนั้นมีการก่อสร้างหรือทำโรงงานอยู่หรือไม่ ซึ่งอาจต้องหลีกเลี่ยงในการซื้อบ้านในพื้นที่ดังกล่าว
-
สอบถามข้อมูลเรื่องบ้านจากผู้ขายอย่างชัดเจน
แม้การทำ Checklist ตรวจรับบ้านก่อนโอนจะช่วยให้ผู้ซื้อบ้านสามารถเก็บข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่อาจมีข้อมูลบางจุดที่ตกหล่นได้เช่นกัน ดังนั้น การสอบถามรายละเอียดต่างๆ เพิ่มเติมจากผู้ขาย จะช่วยให้คุณทราบในสิ่งที่ไม่รู้เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการซื้อบ้านหลังนี้
สรุปงานตรวจรับบ้าน
เมื่อเช็กบ้านเรียบร้อยแล้ว รวมถึงการตรวจสอบสภาพแวดล้อมและรวมรวบข้อมูลต่างๆ อย่างครบถ้วน ให้ทำการเขียนสรุปและบันทึกไว้เพื่อให้รู้ถึงจุดตำหนิหรือจุดที่ต้องแก้ไข เพราะด้วยรายละเอียดของการตรวจรับบ้านก่อนโอนที่ค่อนข้างเยอะพอสมควร การสรุปงานจึงเป็นการเตือนความจำของเราได้เป็นอย่างดี
สำหรับใครที่กำลังมองหาบ้านดีๆ สักหลังที่สามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตและอยู่อาศัยแล้วละก็ ขั้นตอนการตรวจรับบ้านหรือการตรวจรับบ้านก่อนโอนถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพราะจะทำให้คุณทราบว่าบ้านที่ได้รับมานั้นมีคุณภาพที่ดี เป็นไปตามมาตรฐานการก่อสร้างหรือไม่ ซึ่งวิธีตรวจรับบ้าน เช่น การทำ Checklist ตรวจรับบ้าน การใช้อุปกรณ์ในการตรวจสอบ และอื่นๆ นั้น จะช่วยให้คุณสามารถเก็บรายละเอียดของบ้านได้อย่างครบถ้วน เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นในภายหลังได้